Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7478
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์, 2503--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-10T01:37:57Z-
dc.date.available2023-07-10T01:37:57Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7478-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน ในประเทศไทย และ (2) นารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในชุมชนตัวอย่าง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีการยกร่างเป็นรูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของ ชุมชนในประเทศไทย ก่อนนำไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถามหัวหน้าหน่วยงานที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจน 181 แห่ง และกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนยากจน 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนคน ยากจนสูงสุด 400 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้าง จากนั้นยืนยันรูปแบบฯ กับข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม 6 ชุมชนจาก 6 ภาค ของประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือแบบสนทนากลุ่ม แล้วจึงตรวจสอบรูปแบบฯ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ของชุมชน ตัวอย่าง 2 ชุมชนในจังหวัดชุมพร โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลสภาพชุมชนและแบบตรวจสอบรายการกิจกรรม ผลการวิจัย (1) จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน ในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) มาตรการของรัฐและท้องถิ่น 2) แนวทาง การดำเนินการของพฤติกรรมบุคคลและครอบครัว 3) แนวทางการดำเนินการของชุมชน และ 4) ผลการแก้ปัญหา ความยากจน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ โดยตัวแปรมาตรการของรัฐและท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อผล การแก้ปัญหาความยากจนมากที่สุด โดยมีทั้งอิทธิพลทางตรงและมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านอีกสองตัวแปรที่เหลือ ส่วนผลจากการสนทนากลุ่ม สอดคล้องเป็นไปตามผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และรูปแบบดังกล่าวสามารถ แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนได้ และ (2) การตรวจสอบรูปแบบกับชุมชนตัวอย่าง 2 ชุมชน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของชุมชนตัวอย่างทั้งสองแห่ง โดยภายหลังการดำเนินการตามรูปแบบฯ มีผลการแก้ปัญหาความยากจน ด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ดีขึ้นทั้ง สองชุมชน ส่วนด้านสิ่งจำเป็นตามมาตรฐานการดำรงชีพ (จปฐ.) ได้รับการพัฒนา และด้านประชาชนมีรายได้ มากกว่า 38,000.- บาท ต่อคนต่อปี พบว่า ผ่านเกณฑ์ทั้งสองชุมชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รัฐประศาสนศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความจน -- ไทยth_TH
dc.subjectการแก้ปัญหาth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeModel development of community poverty solving in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) develop the model for solving poverty in a community in Thailand, and (2) verify the model with the empirical data in the sample community. This research is mixed-method by developing the model for poverty solving. The empirical data is verified by querying 181 heads of departments who are responsible for poverty solving and impoverished poor households in 10 provinces that have the highest statistics of the poor with 400 households selected by simple random sampling. The statistical method used for quantitative data analysis is frequency, percentages, mean, standard deviation, Confirmatory Factor Analysis (CFA), and Structural Equation Modeling analysis (SEM). The focus group in 6 communities from 6 regions of Thailand are also appointed, along with the empirical data checking with of 2 sample community in Chumphon province by using the community condition data form and activity program form. The research shows that (1) the developed model consisted of 4 variables which were 1) government measures 2) personal and household behaviors 3) community guidelines and 4) goals against poverty. These variables are consistent with quantitative data. The government measures variable has the essential goalsagainst poverty influencing directly and indirectly through the other variables. The result in the focus group discussion is consistent with quantitative data. This model can solve poverty in a community. (2) The examination of the model with 2 sample communities shows that two villages consistent with the empirical data. By following the implementation of the model, the result of poverty solving in indicators of the ability to access essential economic and also social services standard of living to achieve an indicator earn income more than 38,000.- baht per person per year has improved in both two villagesen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162526.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons