Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรรณอร วันทอง, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-10T02:06:29Z-
dc.date.available2023-07-10T02:06:29Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7479-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สู้งอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย (2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแต่ละปัจจัยคัดสรรรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สู้งอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง (3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการโครงสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย และ (4) นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ผสมผสานการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มประชาชนผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครของประเทศไทย จำนวน 466,434 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 384 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่ และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และ (2) กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในเทศบาลนครของประเทศไทย จำนวน 150 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และ การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาพรวม กลุ่มประชาชนผู้สูงอายุมีความเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผูสู้งอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูงและเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า กลุ่มประชาชนผู้สูงอายุ มี 2 ด้านที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญอยู่ในระดับสูง คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านประสิทธิผลองค์การ ส่วนอีก 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มผู้บริหาร และ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มี 6 ด้านที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญ อยู่ในระดับสูง คือ ด้านภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้านสมรรถนะองค์การ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ และ ด้านประสิทธิผลองค์การ และมี 1 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (2) องค์ประกอบทุกตัวที่นำมาใช้ในการศึกษาเป็นองค์ประกอบเชิงยืนยันของแต่ละปัจจัยคัดสรรรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย (3) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเทศไทย ชุดประชาชนผู้สูงอายุ เป็นไปตามข้อตกลงทางสถิติ โดยพบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ปัจจัยด้านมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การ และปัจจัยด้านทั้งหมดทำนายตัวแปรตาม คือ ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การได้ร้อยละ 75.70 ส่วนชุดผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปตามข้อตกลงทางสถิติ โดยพบว่า ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การ ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และปัจจัย ทั้งหมดทำนายตัวแปรตาม คือ ปัจจัยด้านประสิทธิผลองค์การได้ร้อยละ 31.70 และ (4) รูปแบบการบริหารจัดการสวัส ดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ประกอบด้วยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สมรรถนะองค์การ การมีส่วนร่วม และ มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจัย ทุกตัว ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รัฐประศาสนศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทยth_TH
dc.subjectบริการสังคม -- นโยบายของรัฐth_TH
dc.titleรูปแบบการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeElderly social welfare management model of local administrative organizations in Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were fourfold: (1) to examine the management situations; (2) to analyze the confirmatory factors of each selected aspect in the structural equation model; (3) to investigate causal relationships with the elderly social welfare management model; and (4) to present the appropriate ways of the elderly social welfare management model in Thailand. The dissertation is mixed – methods by survey and descriptive approaches. Both groups of samples consist of 384 elderly persons who stayed in the metropolitan municipality area in Thailand and 150 administrators and officers concerning the elderly social welfare work. Also, questionnaires and focus group discussions were used as research instruments. The following statistics were analyzed: frequency, percentage, means, standard deviation, one-sample t-test, confirmatory factor analysis, and path analysis with the program LISREL. Research findings showed that: (1) overall of the elderly social welfare management of the local administrative organizations in Thailand, in the elderly group, was at a moderate level and in a group of administrators and officers at a high level. Individually, indicated that the elderly group had two aspects at a high level, namely information technology and communication and effectiveness. Moreover, five components were at a moderate level. In addition, a group of administrators and officers, six aspects wise at a high level: transformational leadership, strategic management, organization competency, participation, the standard for helping elderly people, and effectiveness. Also, there was only one aspect at a moderate level; (2) every component that was studied as crucial confirmatory factors of each selected aspect of the elderly social welfare management of the local administrative organizations in Thailand; (3) causal relationship with the structural equation model of the elderly social welfare management model of the local administrative organizations in Thailand, in term of elderly group, the goodness of strongly fit statistics were explored. It revealed that the organization's effectiveness received a direct effect from strategic management, the standard for helping elderly people, information technology and communication, transformation leadership, and organization competency. It was found that those aspects could predict the dependent variable (organization effectiveness) at 75.70 percent. In terms of the administrator and officer group, it revealed that the organization's effectiveness received a direct effect from the participation aspect, transformation leadership, strategic management, and information technology and communication. Also, it was found that the above aspects could predict the dependent variable (organization effectiveness) at 31.70 percent at .05 level of significance; and (4) the appropriate model for managing the elderly social welfare works of the local administrative organizations in Thailand, there were transformational leadership, strategic management, information and communication technology, organizational competency, participation and the standard of assistance for the elderlyen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162528.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons