Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/749
Title: สมรรถนะหลักทางสาธารณสุขและโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Core public health competencies and their performance opportunity of health workers in primary care unit Uthai Thani Province
Authors: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐวิช แสงแก้ว, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
สาธารณสุข
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--ภาระงาน
สมรรถภาพในการทำงาน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน (1) ระดับสมรรถนะหลักทางสาธารณสุข (2) ระดับโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทางสาธารณสุข และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยใช้ไปแบบการวิจัยเชิงสำรวจในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 243 คน เครื่องมือการวิจัยถูกเรียบเรียงและดัดแปลงมาจาก Saskatchewan Health 2001 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ส่วน ซึ่งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินตนเองตามสมรรถนะหลักทางสาธารณสุข และโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 วิชาการทางสาธารณสุขพื้นฐาน ด้านที่ 2 การวิเคราะห์และการประเมิน ด้านที่ 3 การจัดทำนโยบายและวางแผนงานโครงการ ด้านที่ 4 การปฏิบัติงานในชุมชน ด้านที่ 5 การสื่อสาร ด้านที่ 6 ความเข้าใจวัฒนธรรม ด้านที่ 7 ภาวะผู้นำและการคิดอย่างเป็นระบบ และด้านที่ 8 การวางแผนการเงินและการจัดการ แบบสอบถามทั้งสองส่วนมีค่าความเที่ยงเท่ากันเท่ากับ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยผ่านทางสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและได้แบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 77.77 การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบไคว์-สแคว์ และสัมประสิทธิการทำนายพหุ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายส่วนใหญ่มีสมรรถนะหลักทางสาธารณสุขทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับยอมรับได้ ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะหลักด้านที่ 4, 5 และ 6 อยู่ในระดับยอมรับได้ สัดส่วนในด้านอื่น ๆ มีตํ่ากว่า (2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายส่วนใหญ่มีโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านที่ 2, 3 และ 8 อยู่ในระดับที่ต้องการพัฒนา สัดส่วนในด้านอื่น ๆ มีตํ่ากว่า แต่ด้านที่ 5 อยู่ในระดับยอมรับได้ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงมีโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านที่ 1, 2, 3, 7 และ 8 อยู่ในระดับที่ต้องการพัฒนา แต่ด้านที่ 4,5 และ 6 อยู่ในระดับยอมรับได้ (3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพศชายและหญิงมีระดับความสามารถตามสมรรถนะหลักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านที่ 1, 2, 4, 5, 6, 7 และ 8 โดยสัดส่วนเพศชายที่มีความสามารถในระดับสามารถทำได้ด้วยตนเองมีสูงกว่าเพศหญิง ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายและหญิงมีโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทั้ง 8 ด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรเพศมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่ากับสมรรถนะหลักด้านอื่น ๆ ยกเว้นด้านที่ 5 และ 6 อายุมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสมรรถนะหลักด้านที่ 2, 6 และกับโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านที่ 6 ระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสมรรถนะหลักด้านที่ 4 และ 8 สมรรถนะหลักทางสาธารณสุขแต่ละด้านต่างเป็นตัวทำนายโอกาสในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักด้านนั้นได้ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบจากงานวิจัยบ่งบอกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชายส่วนใหญ่มีความสามารถและโอกาสในการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการงานสาธารณสุข ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหญิงส่วนใหญ่มีความสามารถและโอกาสในการปฏิบัติงานในชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/749
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108773.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons