กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7508
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumers' behavior and satisfaction towards public parks in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรชัย พิศาลบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรีเรือน แก้วกังวาล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนา โกศิยานันท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
สวนสาธารณะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ของผู้บริโภค (2) วัดระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ที่มีต่อสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และ (3) ศึกษา ปัจจัยด้านคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภค ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้สวน สาธารณะในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่เข้ามาใช้บริการสวนสาธารณะใน กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 แห่ง คือ สวนลุมพินี สวนจตุจักร สวนรถไฟ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และสวน หลวง ร.9 ในวันธรรมดาและวันเสาร์-อาทิตย์ รวม 600 ราย เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เกี่ยวกับพฤติกรรมกรมมาใช้บริการ ความพึงพอใจด้านสภาพแวดด้อม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความ สะอาด ด้านความปลอดภัย และปัญหาในการใช้บริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่า เฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี t-test F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีเชฟเฟ (Scheffe’s test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริโภคที่มาใช้บริการสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ส่วนมาก เป็นเพศ หญิง อายุ 20-40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นใป อาซีพพน้กงานบริษท/ห้างร้าน มีรายได้ 10,001-20,000 บาท/เดือน ลักษณะที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว/บ้านจัดสรร มาใช้ปริการเพี่อพักผ่อนหย่อนใจกับ ครอบครัวโดยรถยนต์ส่วนตัว ในวันหยุดช่วงเวลาเย็น ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้บริการ 1-2 ชั่วโมง/ครั้ง ความถี่ใน การมานานๆ ครั้ง ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ 0-100 บาท/ครั้ง (2) ผู้บริโภคที่มาใช้บริการสวนสาธารณะ มีความ พึงพอใจต่อบริการของสวนลาธารณะรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยสวนหลวง ร.9 ได้รับความพึงพอใจ มากในด้านสภาพแวดล้อม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความสะอาด ส่วนสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้ รับความพึงพอใจมากในด้านความปลอดภัย (3) ปัจจัยคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ลักษณะที่พักอาศัย ส่วน ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ และ (4) ปัญหาในการใช้บริการสวนสาธารณะรวม ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง สวนรถไฟควรปรับปรุงทุกด้าน สวนลุมพีนีควรปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อม โดย เพี่มต้นไม้ใหญ่ๆ จัดให้มีไม้ดอกหลากหลายชนิดและดูแลตัดแต่งสวนให้สวยงามอยู่เสมอ ประตูเข้าออกไม่ สะดวก สวนจตุจักรและสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ควรปรับปรุงด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านความ สะอาด โดยเพิ่มด้านสาธารณูปโภคให้มากขึ้นและเน้นการรักษาความสะอาดทุกจุด สวนหลวง ร.9 ควรปรับ ปรุงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยเพิ่มด้านสาธารณูปโภคให้มากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7508
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77160.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons