Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7513
Title: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสรรพากรสังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 21
Other Titles: Working motivation of government officials in Bangkok Area Revenue Office 2
Authors: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ
จิตติมา วงศ์วิชัย, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: กรมสรรพากร--ข้าราชการ--ความพอใจในการทำงาน
การจูงใจในการทำงาน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ กรมสรรพากร สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 21 (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการกรมสรรพากร สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 21 จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ข้าราชการกรมสรรพากร สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร 21 จำนวน 174 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 122 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนจำแนกทาง เดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้าราชการมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับ มาก โดยปัจจัยจูงใจที่มีระดับการจูงใจสูงที่สุดคือ ด้านความสำเร็จของงาน รองลงมาคือ ด้านลักษณะ งาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้า ตามลำดับ ส่วนปัจจัยคํ้าจุนมีระดับการจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีระดับการจูงใจสูงที่สุดคือ ด้านการควบคุมการนิเทศงาน รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาวะการทำงาน และ ด้านเงินเดือน ตามลำดับ (2) ข้าราชการที่มีเพศ อายุ สถานภาพ อายุการทำงาน ระดับการศึกษา รายไต้ ระดับตำแหน่งงาน และฝ่ายที่ปฏิปติงานต่างกัน มีระดับแรงจูงใจในการปฏิป้ติงานในโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่หากพิจารณาในรายต้าน พบว่า ข้าราชการที่มีอายุการทำงานแตกต่างกัน จะมีปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จของงานและปัจจัยคํ้าจุนด้านนโยบายและการบริหารมีความแตกต่างกัน และข้าราชการที่มีฝ่ายที่ปฏิบัติงานต่างกัน จะมีปัจจัยคํ้าจุนด้านเงินเดือนที่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7513
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_140790.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons