กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/751
ชื่อเรื่อง: | การใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 28 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ต่อศาลรัฐธรรมนูญ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Making a legal claim by virtue of section 28 of Thailand Constitution 2550 B.E. to Constitutional Court |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล สุรศักดิ์ ธรรมเป็นจิตต์, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รังสิกร อุปพงศ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ศาลรัฐธรรมนูญ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง การใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 28 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ต่อ ศาลรัฐธรรมนูญมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรณีบุคคลถูกกระทบสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ บุคคลนั้นจะสามารถยกบทบัญญัติเพื่อใช้สิทธิทางศาลต่อศาลรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ เพียงใด (2) ศึกษากรณีการเสนอคดีที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตรวจสอบทบทวนตามคําร้องของบุคคลที่กล่าวอ้างว่าคดีของตนถูกกระทบสิทธิและเสรีภาพจากคําพิพากษาอันถึงที่สุดนั้น จะทําได้หรือไม่เพียงใด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ทั้งที่เป็น บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องคําวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญและคําพิพากษาของศาลต่างๆ ของไทย เปรียบเทียบกับประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยพบว่าบุคคลผู้ถูกกระทบสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ไม่อาจยกบทบัญญัติ ตามรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลต่อศาลรัฐธรรมนูญได้เนื่องจากยังขาดบทบัญญัติของกฎหมายที่รองรับการ ใช้สิทธิของบุคคลในการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ คือ ขาดกฎหมายที่กำหนดให้บุคคลที่ถูกกระทบสิทธิ เสรีภาพดังกล่าวเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้โดยตรงและให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอํานาจที่รับพิจารณา เรื่องดังกล่าวได้และกฎหมายวิธีพิจารณาความกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สิทธิทางศาลและวิธีพิจารณาคดี ของศาลรัฐธรรมนูญและการเสนอคดีที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ ตรวจสอบทบทวนนั้น ยังไม่อาจทําได้ เนื่องจากขาดบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอํานาจที่จะตรวจสอบทบทวนคําพิพากษาของศาลอื่นได้ แม้มาตรา 212 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จะให้สิทธิแก่บุคคลผู้ถูกกระทบสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรอง อาจยื่นคําร้องต่อศาลได้ แต่วัตถุแห่งคดีตาม มาตรา 212 นี้ หมายถึงแต่เฉพาะกรณีที่โต้แย้งว่า บทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหา ประกอบด้วย การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้มีบทบัญญัติ รองรับการใช้สิทธิของบุคคลที่ถูกกระทบสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลรัฐธรรมนูญมีเขตอํานาจในการรับคดีที่บุคคลถูกกระทบสิทธิเสรีภาพได้ตลอดจนการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สิทธิทางศาลและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีถูกกระทบสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ รับรองทั้งในกรณีที่เป็นผลมาจากคําพิพากษาถึงที่สุดและกรณีอื่นๆ ไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/751 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib151551.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 42.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License