กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7520
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้ออาหารกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Farmer's purchasing behavior concerning shrimps food in Trang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร
นันทิชา สุรัตน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุจิตรา หังสพฤกษ์
คำสำคัญ: อาหารสัตว์
พฤติกรรมผู้บริโภค--การตัดสินใจ
เกษตรกร--ไทย--ตรัง
กุ้ง--อาหาร
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดตรัง (2) ศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดของอาหารกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดตรัง (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้ออาหารกุ้งกับลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง (4) เปรียบเทียบข้อคิดเห็นด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งการวิจัยนี้ใช้วิธีการสำรวจ ประชากร คือ ผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดตรัง 820 ราย สุ่มตัวอย่างมา 269 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ข้อมูล ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติการทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่จังหวัดตรังส่วนใหญ่ใช้อาหารกุ้งตราซีพี มีเหตุผลของการเลือกซื้ออาหารกุ้งเพียงยี่ห้อเดียวเนื่องจากเชื่อถือในคุณภาพ กรณีเลือกซื้อหลาย ยี่ห้อมีเหตุผลในการเลือกซื้อเนื่องจากระดับราคาที่แตกต่างกัน ไม่ต้องการเปลี่ยนยี่ห้ออาหารเนื่องจากอาหารมีคุณภาพดี และกรณีที่ต้องการเปลี่ยนยี่ห้ออาหารเนื่องจากคุณภาพอาหารยี่ห้ออื่นดีกว่า ส่วนใหญ่ซื้อจากร้านค้าเนื่องจากรู้จักกับผู้ขายและผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่คือเจ้าของกิจการ มีความถี่ในการสั่งซื้อ 4-7 วันต่อครั้ง ชำระเงินด้วยวิธีเงินเชื่อ 1 เดือน และรับทราบการโฆษณาอาหารกุ้งจากพนักงานขาย (2) เกษตรกรที่ไม่เปลี่ยนยี่ห้อให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดด้านผลิตัณฑ์ คือ สีของเม็ดอาหาร การจัดจำหน่าย คือการมีตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านและการขนส่งถึงฟาร์มมากที่สุดแต่ส่วนประสมการตลาดอื่นๆ เกษตรกรไม่ได้ให้ความสำคัญ ยกเว้นกรณีเกษตรกรเปลี่ยนยี่ห้อที่ราคามีความสำคัญต่อการซื้อ (3) อายุมีความสัมพันธ์กับยี่ห้ออาหารกุ้งที่ใช้ การศึกษาและประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งมีความสัมพันธ์กับการซื้ออาหารกุ้งเพียงยี้ห้อเดียว ความถี่ของการซื้อ ขนาดเนื้อที่ที่ใช้เลี้ยงกุ้งมีความสัมพันธ์กับการซื้ออาหารกุ้งเพียงยี้ห้อเดียว สถานที่ที่ซื้อมีความสัมพันธ์กับผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ ความถี่ของการซื้อ ต้นทุนเฉลี่ยต่อหนึ่งรอบการเลี้ยงมีความสัมพันธ์กับการซื้ออาหารกุ้งเพียงยี่ห้อ เดียว สถานที่ที่ซื้อ ความถี่ของการซื้อ (4) เกษตรกรที่มีอายุแตกต่างกันมีความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกเป็นรายด้านมีความเห็นต่อความสามารถในการคงตัวในน้ำของอาหารกุ้งแตกต่างกัน เกษตรกรที่มีการศึกษาแตกต่างกันมีความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดในภาพรวมแตกต่างกัน เมื่อจำแนกเป็นรายด้านมีความเห็นต่ออัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ตัวแทนจำหน่ายอยู่ใกล้บ้าน มีการขนส่งอาหาร บริการส่งอาหารถึงฟาร์มไม่แตกต่างกัน เกษตรกรที่มีประสบการณ์การเลี้ยงแตกต่างกันมีความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัด จำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เกษตรกรที่มีเนื้อที่ที่ใช้เฉพาะในการเลี้ยงและมีต้นทุนเฉลี่ยต่อ 1 รอบการเลี้ยงแตกต่างกันมีความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118856.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons