Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7559
Title: ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของศูนย์ไปรษณีย์ลำพูน จังหวัดลำพูน
Other Titles: Productivity of operation workers of Lamphun Mail Centre Lamphun Province
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิสิษฐ์ บุญธรรม, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศูนย์ไปรษณีย์ลำพูน--พนักงาน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (2) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล 7 ค้าน และระดับความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการ 4 ด้านที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและ (3) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของศูนย์ไปรษณีย์ลำพูน การศึกษาใช้วิธีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพนักงานระดับปฏิบัติการของศูนย์ไปรษณีย์ลำพูน จังหวัคลำพูน จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเกราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า (1) พนักงานแผนกไปรษณีย์ธรรมดามีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (PI เท่ากับ 151.52% พนักงานแผนกไปรษณีย์ลงทะเบียนและแผนกพัสดุไปรษณีย์มีประสิทธิภาพการทำงานไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (PI เท่ากับ 98.25% และ 98.78 %) ตามลำคับ (2) ลักษณะส่วนบุคคลในด้านอายุและตำแหน่งงานมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและภาพรวมของความคิดเห็นด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ 2 ระดับคือ ระดับเห็นด้วยมาก ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพระหว่างพนักงานระดับปฏิบัติการกับผู้บังคับบัญชา และด้านการบริหารของผู้บังคับบัญชา และระดับเห็นด้วยปานกลาง ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ (3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ได้แก่ การตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพในการทำงนในระดับที่เหมาะสม มีการตรวจสอบด้วยการจับเวลาการทำงานเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างเต็มความสามารถ และควรมีการปฐมนิเทศการสอนงาน และการฝึกอบรม ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานมีการทดสอบการปฏิบัติงานเป็นระยะโดยมีแผนปฏิบัติการ (Action Plan) อย่างชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7559
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_121986.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons