กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7567
ชื่อเรื่อง: การรับรู้ความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานโรงแรมในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perception of fairness of the performance appraisal of the hotel's employees in the eastern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชินา ถิรวัฒน์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
พนักงานโรงแรม -- ไทย (ภาคตะวันออก) -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความยุติธรรมของการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน พนักงานโรงแรมในภาคตะวันออก (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับ รู้ความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย พนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงแรมในภาคตะวันออก จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคลของ พนักงาน ลักษณะของผู้ประเมิน และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบ สอบถามเท่ากับ .856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบที (t- test) และแบบเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว (One-Way AN0VA) และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี เชฟ่เฟ่ (Scheffe’s test) โดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS 10 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการรับรู้ความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงาน พนักงานโรงแรมในภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการคึกษา และความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ ต่างกัน มีการรับรู้ความยูติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยลักษณะ ของผู้ประเมินด้านความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ด้านความรู้ความเข้าใจในระบบการประเมิน ผลการปฏิบัติงาน และด้านความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน และปัจจัยวิธีการประเมินผลการปฏิบัติ งานด้านความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายการทำงาน และด้านการแจ้งผลการประเมินที่ต่างกันมี การรับรู้ความยุติธรรมของการประเมินผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนด้านความถี่ในการประเมิน และจำนวนของผู้ประเมิน ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7567
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77173.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons