กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7573
ชื่อเรื่อง: การใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการให้บริการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing factors effecting the Bangkok Art and Culture Centre Service
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
มาลี สมบูรณ์ทรัพย์, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร--การบริหาร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร--บริการสารสนเทศ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการให้บริการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการให้บริการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อตัดสินใจ และให้ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการมากยิ่งขึ้น วิธีการศึกษาที่ใช้ครั้งนี้ เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิเคราะห์ที่ใช้สถิติเป็นค่าร้อยละจาก แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ จากการรวบรวมข้อมูลในการสอบสัมภาษณ์ของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องและจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิจากการรวบรวมข้อมูลของเอกสาร บทความและแผ่นพับของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยใช้ประชากรจากผู้เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 500 กน มีประชากรทั้งหมดผู้กรอกแบบสอบถาม จำนวน 473 คน คิดเป็นร้อยละ 94.6 ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์อัตราร้อยละในการศึกษาวิเคราะห์การใช้ปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดในการให้บริการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครพบว่าผลิตภัณฑ์ (Product) มีรากา (Price) ที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยมีช่องทางการจัดจำหน่าย(Place) จากการรวบรวมข่าวสารทางการตลาด เพื่อให้รู้ว่าผู้บริโภคมีความต้องการอะไร โดยมีการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ช่วยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์และมีพนักงานที่มีความสามารถช่วยดำเนินการตามกระบวนการให้บริการ (Process) ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวดเร็วและประหยัด สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence) ในการจัดภูมิทัศน์โดยรอบหอศิลปะเป็นสวนหย่อม เพื่อเป็นการสร้างสีสัน และความร่มรื่น เป็นภาพลักษณ์ที่ชวนให้มาเดินชมหอศิลปะ วิธีการแก้ไขปัญหาของผู้ให้บริการเห็นควรปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ ลดขั้นตอนการดำเนินงานและปรับปรุงป้ายชื่อให้มีขนาคใหญ่เห็นได้ชัดเจน ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำมากำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคให้มาใช้บริการหอศิลปะต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7573
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_115691.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons