Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7597
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ ปิติยาศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorวิษณุศักติช์ สืบอินทร์, 2521-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-12T07:02:40Z-
dc.date.available2023-07-12T07:02:40Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7597en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน (2) ศึกษาถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืนทั้งกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน และเพื่อศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจาก บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน รวมถึง กฎหมายต่างประเทศ โดยศึกษาประกอบกับหนังสือ ตำราวิชาการทางกฎหมาย วารสาร บทความ รายงานวิจัยทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตลอดจนวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้ เพื่อนำมาวิเคราะห์วิจัยให้ได้มาซึ่งบทสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป โดยจะใช้วิธีการเขียนแบบพรรณนาและวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนนั้น ยังคงต้องประสบกับปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน เนื่องจากการขาดบทบัญญัติที่ชัดเจนในการกำหนดช่วงเวลาในการค้นต่อไปในเวลากลางคืน (2) ปัญหาการขาดหลักเกณฑ์หรือบทนิยามศัพท์หรือคำจำกัดความของคำว่า “กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง” และการขาดบทบัญญัติที่ให้คำนิยามศัพท์คำว่า “ผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ” จึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจไว้ โดยเห็นสมควรให้แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ให้ชัดเจนขึ้น โดยให้เพิ่มบทนิยามของคำว่า “เวลากลางคืน” ให้ชัดเจนโดยอ้างอิงระยะเวลาขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เทียบเวลามาตรฐานของประเทศไทย และควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 (3) เพื่อกําหนดกรณีที่ถือว่าฉุกเฉินอย่างยิ่ง และกําหนดคำนิยามของ“ผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ” โดยกําหนดจากฐานความผิดหรืออัตราโทษจำคุกขั้นตํ่าไว้ ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectตำรวจ--การปฏิบัติหน้าที่th_TH
dc.subjectพยานหลักฐานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการค้นของเจ้าพนักงานตำรวจ ศึกษาเฉพาะกรณีการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนth_TH
dc.title.alternativeLegal problems regarding the search of police especially at private place in the nighttimeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to study and analyze the legal problems regarding to the search of police especially at private place in the nighttime including the legal concept, theory or principle of the search of police at private place in the nighttime. The study of the relevant laws relating to the search at private place in the nighttime both local and international laws, the legal problems relating to the search at private place in the nighttime, and propose how to solve the problem relating to the search at private place in the nighttime, were also examined. This independent study is the qualitative research by using documentary research of relevant statutory provisions including The Constitution of the Kingdom of Thailand 2017, The Criminal Procedure Code, and other relevant laws as well as regulations, relevant and current notices, and international laws. The books, academic legal textbooks, journals, articles, local and international research reports, and relevant thesis were used in this study for analysis to obtain conclusion and suggestion. It was found that the practices of the police in regard with the search at private place in the nighttime are always being the interpretation problems due to the lack of rules to define timeline of the nighttime precisely or lack of definition of legal wording. The “extremely emergency” and “fierce-person or capital outlaw” clarify how the police will be able to conduct the search at private place in the nighttime correctly. So, there are some solutions to propose for the revision of the relevant laws regarding the search in the private place at the nighttime of the police by revising Criminal Procedure Code Section 96, adding the definition of “nighttime” to specify legally period of the nighttime which may refer to the specified time of the standard time of Thailand. In addition, revising Section 96 (2) to specify the criteria, which should be considered as “extremely emergency” and definition of “fierce-person or capital outlaw” according to the criminal offenses or penalty of the legal ground stating the minimum period of imprisonment from 5 years upwards or higher.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons