กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7597
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการค้นของเจ้าพนักงานตำรวจ ศึกษาเฉพาะกรณีการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems regarding the search of police especially at private place in the nighttime |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ วิษณุศักติช์ สืบอินทร์, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ตำรวจ--การปฏิบัติหน้าที่ พยานหลักฐาน การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน (2) ศึกษาถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืนทั้งกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน และเพื่อศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้นในที่รโหฐานของเจ้าพนักงานตำรวจในเวลากลางคืน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจาก บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ตลอดจนระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน รวมถึง กฎหมายต่างประเทศ โดยศึกษาประกอบกับหนังสือ ตำราวิชาการทางกฎหมาย วารสาร บทความ รายงานวิจัยทั้ง ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตลอดจนวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้ เพื่อนำมาวิเคราะห์วิจัยให้ได้มาซึ่งบทสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป โดยจะใช้วิธีการเขียนแบบพรรณนาและวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนนั้น ยังคงต้องประสบกับปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน เนื่องจากการขาดบทบัญญัติที่ชัดเจนในการกำหนดช่วงเวลาในการค้นต่อไปในเวลากลางคืน (2) ปัญหาการขาดหลักเกณฑ์หรือบทนิยามศัพท์หรือคำจำกัดความของคำว่า “กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง” และการขาดบทบัญญัติที่ให้คำนิยามศัพท์คำว่า “ผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ” จึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการค้นในที่รโหฐานในเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจไว้ โดยเห็นสมควรให้แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ให้ชัดเจนขึ้น โดยให้เพิ่มบทนิยามของคำว่า “เวลากลางคืน” ให้ชัดเจนโดยอ้างอิงระยะเวลาขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เทียบเวลามาตรฐานของประเทศไทย และควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 (3) เพื่อกําหนดกรณีที่ถือว่าฉุกเฉินอย่างยิ่ง และกําหนดคำนิยามของ“ผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญ” โดยกําหนดจากฐานความผิดหรืออัตราโทษจำคุกขั้นตํ่าไว้ ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7597 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License