กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7600
ชื่อเรื่อง: การศึกษากลยุทธ์การตลาดไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of ornamental marketing strategy in Chaing Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง
นีรนาท ศรีชุมพร, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ไม้ดอก--การตลาด
ไม้ตัดดอก--การตลาด
ไม้ประดับ--การตลาด
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระ เรื่อง การศึกษากลยุทธ์การตลาดไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาตลาดไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษา ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ประซากรที่เป็นผู้ผลิตไม้คอกไม้ประดับในเขตอำเภอ เชียงใหม่ 2 ประชากรที่เป็นผู้จำหน่าย หรือ ผู้ด้าส่ง ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 90 ราย มีเนื้อหาที่ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาดทั้งภายในจังหวัดเชียงใหม่และผู้ผลิตไม้ประดับรายใหญ่ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้จำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาถึงวิธีการ การวางแผน ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับที่คำนึงถึงด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านการจำหน่ายโดยการใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มาตรวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งลักษณะแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามศึกษาตลาดและวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีสร้างเครื่องมือ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสร้างแบบสอบถามตรวจแบบสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญปรับปรุงและทดลองใช้จัดเก็บข้อมูล วิธีดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยคัดเลือกพื้นที่ในการศึกษาติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการนำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายทำการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดและจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลในโปรแกรมสำเร็จรูป โดยผู้ศึกษาเป็นผู้บันทึกและจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเองแล้วนำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้วยสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การตลาดไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดเชียงใหม่ ระดับความคิดเห็นในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 35-44 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ รายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ระยะเวลาการทำงานอยู่ระหว่าง 7-9 ปี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7600
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_112506.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons