กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7619
ชื่อเรื่อง: | ความสามารถทางการแข่งขันขององค์การธุรกิจวัสดุก่อสร้าง : กรณีศึกษาบริษัทไชยฮวด ซิเมนต์โฮมมาร์ท จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Organizational competitiveness of construction material company : a case of Chaihod Ciment Homemart Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนชัย ยมจินดา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บุษกร บูรณนิธิ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทไชยฮวด ซิเมนต์โฮมมาร์ท การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ การบริหารองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัว เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการ พร้อมรองรับสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแข่งขันขององค์การ ในปัจจุบัน (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานในระดับต่างๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์การการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัย 14 ด้าน ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ไชยฮวด ซิเมนต์โฮมมาร์ท จำกัด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในปัจจุบันสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Window Excel ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-34 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอายุในตำแหน่งงาน 3-6 ปี โดยในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ในปัจจุบันองค์การมีความสามารถในการแข่งขันในระดับมาก และจากการวิเคราะห์แยกเป็นปัจจัยด้านต่างๆ พบว่า 2 อันดับแรก พนักงานทุกคนเห็นด้วยกับปัจจัยด้านสินค้าและบริการ การตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันระดับมากแต่ป้จจัยด้านการวิจัยและพัฒนา พนักงานมีความเห็นในปัจจัยดังกล่าวอยู่ในลำดับสุดท้าย โดยส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันระดับปานกลางข้อเสนอแนะที่บริษัทฯ ควรพิจารณาคือ การเปิดกว้างต่อการรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการจัดการระบบการปฏิบัติงานมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านศักยภาพของพนักงานในทุกระดับ เพื่อนำมาพัฒนาบริษัทฯต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7619 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_112603.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License