กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7630
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานภายหลังการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Job satisfaction of the PTT Public Company Limited's employees after privatization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ
สุนารี เอกวิทยานุรักษ์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
บริษัทปตท.--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานภายหลังการแปลงสภาพจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน และ 3) เสนอแนะในการปรับปรุง หรือ สร้างความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น พนักงาน ปตท. ในสำนักงานใหญ่่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น จำนวน 389 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0.047 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น 0.9358 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัช ฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ปตท. หลังการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ภาพรวม จัดอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.69 โดยเรียงลำดับความพึงพอใจในการ ทำงานของแต่ละปัจจัยจากมากไปน้อย ดังนี้ ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสำเร็จในงานความรับผิดชอบต่องาน ลักษณะงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ความรู้สึกยอมรับ ค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ การบังคับบัญชา นโยบายทรัพยากรมนุษย์ และโอกาสก้าวหน้าในงาน (2) พนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มี เพศ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาทำงานใน ปตท. ต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) พนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีระดับตำแหน่ง สถานภาพทางอาชีพ และสถานที่ปฏิบัติงานหลักต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานแตก ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) การสร้างความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในนโยบายทรัพยากรมนุษย์ และฝ่ายบริหารควรจัดให้มีการพัฒนาสายอาชีพที่ชัดเจน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7630
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
78704.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons