กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7643
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการฝึกอบรมแบบมุ่งเน้นปฏิกิริยา กรณีศึกษา บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Training evaluation in reaction level case study of Thai Airways International (Public) Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ
ประไพพรรณ นิติวัฒนานนท์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
การฝึกอบรม
พนักงานการบินไทย--การฝึกอบรมในงาน
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมต่อผลการฝึกอบรม (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมของกองการพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรบุคคล ฝ่ายพัฒนา บริษัทการบินไทย เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินการฝึกอบรมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้นต่อไปกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานการบินไทยที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรของกองการพัฒนาและฝึกอบรมทรัพยากรบุคคล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์จากผู้ที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม - 18 ตุลาคม 2545 จำนวน 400 คน เครี่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมลคือแบบสอบถาม ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะหข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบที และแบบเอฟ ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นต่อผลการฝึกอบรม ด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม เห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านวิทยากร เห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยรองลงมาใน และ ด้านเทคนิค/วิธีการที่ใช้ไนการฝึกอบรม เห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยนัอยที่สุด ในด้านปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมพบว่า อายุ รายได้รวมต่อเดือน อายุงานในบริบทการบินไทย ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน หลักสูตรที่เข้าอบรม ที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมต่อการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลที่ได้จากการวิจัยสอดคล้องกับการประเมินผลตามแนวคิดของ เคิร์คแพททริค ว่าการวัดปฏิกิริยามีความสำคัญที่จะทราบการตอบสนองในเชิงบวก ของผู้เข้ารับการอบรม เพราะหากว่าผู้เข้ารับการอบรมไม่มีปฏิกิริยาที่แสดงความพึงพอใจในการฝึกอบรมแล้ว ก็อาจจะไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้หรือกล่าวได้ว่าปฏิกิริยาเชิงลบจะเป็นการลดทอนแรงจูงใจในการเรียนรู้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7643
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
78974.pdfเอกสารฉบับเต็ม4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons