Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/765
Title: การสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ของสถานศึกษาอาชีวศึกษา
Other Titles: Synthesis of the third-round external quality assessment (2011-2015) of vocational education institutions
Authors: ศศิธร บัวทอง
ศจี จิระโร
Keywords: ประกันคุณภาพการศึกษา -- การประเมิน
Issue Date: 2560
Publisher: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Citation: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2560), หน้า 113-125
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 - 2558) ของสถานศึกษาอาชีวศึกษาจำแนกตามระดับคุณภาพผลการรับรองมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการประเมินตามกฎกระทรวงฯ และรายตัวบ่งชี้ และเสนอข้อเสนอแนะในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาการวิจัยดำเนินการโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อมูลคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาจากรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามจำนวน ทั้งหมด 782 แห่ง และจัดประชุมสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 17 คน เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ต่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1) สถานศึกษาอาชีวศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ทั้งหมด จำนวน 782 แห่ง จำแนกผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามตามระดับคุณภาพ ดังนี้ สถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีผลประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 75 แห่ง (ร้อยละ 9.59) ระดับดี จำนวน 602 แห่ง (ร้อยละ 76.98) ระดับพอใช้ จำนวน 7 แห่ง (9.59) ระดับต้องปรับปรุง จำนวน 21 แห่ง (ร้อยละ 2.69) และระดับต้องปรับปรุงเร่งด่วน จำนวน 9 แห่ง (ร้อยละ 1.15) ผลการรับรองมาตรฐานการศึกษา พบว่า สถานศึกษาอาชีวศึกษาได้รับรองมาตรฐาน การศึกษาจำนวน 621 แห่ง (ร้อยละ 79.41) และไม่รั บรองมาตรฐานการศึกษาจำนวน 161 แห่ง (ร้อยละ 20.59) มีผลการประเมินเฉลี่ยในมาตรฐานที่ 4 านการประกันคุณภาพภายในสูงสุดอยู่ในระดับดี เท่ากับ 4.29 รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 2 ด้านการบริหารจัดการศึกษา อยู่ในระดับดี เท่ากับ 4.18 รองลงมาคือมาตร ฐานที่ 3 ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เนั้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับดี เท่ากับ 4.0 และผลการประเมินเฉลี่ยอันดับสุดท้ายคือ มาตรฐานที่ 1 ด้านผลการจัดการศึกษา อยู่ในระดับดี เท่ากับ 3.7 เมื่อจำแนกรายตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ 4 ผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพ หรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้นำไปใช้ประโขชน์ มีผลการประเมินเฉลี่ยต่ำที่สุด เท่ากับ 2.45 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ผลการประเมินเฉลี่ยในตัวบ่งชี้ 5 ผลงานที่เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยของครูที่ได้นำไปใช้ประ โยชน์ และผลการประเมินเฉลี่ยในตัวบ่งชี้ 2 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำป็นในการทำงาน มีผลการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 2.57 และ 3.19 ตามลำดับ มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนตัวบ่งชี้อื่นมีผลการประเมินเฉลี่ยระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี 2) ข้อเสนอแนะในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาได้เสนอแนะตามมาตรฐานการประเมินตามกฎกระทรวงฯ 4 มาตรฐาน คือ ด้านผลการจัดการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการประกันคุณภาพภายในโดยเสนอแนวทางการดำเนินงานทั้งในระดับหน่วยงานต้นสังกัดและระดับสถานศึกษา
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/765
ISSN: 1905-4653
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44339.pdfเอกสารฉบับเต็ม341.81 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons