Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7662
Title: | ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Marketing mix that affecting buying behavior of development toys for newborn to Six years old childs of consumers in Bangkok |
Authors: | ยุทธนา ธรรมเจริญ นิรมล กสิวัฒน์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี ของเล่น--การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบ จําแนกตามปัจจัยส่วนประสมการตลาด และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับ พฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากร คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เคยซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึงหกขวบ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยไม่ทราบจํานวนประชากร กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคํานวณของทาโร่ ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จํานวน 400 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีตามสะดวก ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผล ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการแปลผล ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 60,000 บาทขึ้นไป มีบุตรเป็นเพศหญิง 1 คน อายุอยู่ระหว่าง 1-2 ขวบ (1) ผู้ปกครองมีระดับความคิดเห็นต่อความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดจําหน่ายมีความสําคัญอยู่ในอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคา (2) ผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมการซื้อของเล่น แตกต่างกัน ในด้านประเภทของเล่น ประโยชน์ต่อเด็กจากของเล่นที่ซื้อ ความถี่ในการซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ มีความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจําหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่แตกต่างกัน และ (3) เพศของบุตร มีความสัมพันธ์กับประเภทและประโยชน์ของของเล่นที่ซื้อ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความถี่และค่าใช้จ่ายในการซื้อของเล่น ส่วนอายุของบุตร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อทุกด้าน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7662 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150224.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License