Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7681
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวลิดา ไชยะโพธิ์, 2518-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-13T07:29:32Z-
dc.date.available2023-07-13T07:29:32Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7681-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดและระดับ ความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (2) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานขายของบริษัท แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานที่มีผลต่อระดับ ความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแกปัญหาความเครียดให้แก่พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ประชากรได้แก่ พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 300 คน ขนาดตัวอย่าง จำนวน 172 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามด้านปัจจัยด้านงานมีค่าความเชื่อมั่น 0.7899 และแบบสอบถามระดับ ความเครียดในการทำงานมีค่าความเชื่อมั่น 0.7847 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบ ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบแบบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า (1) พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีปัจจัยด้านงานในภาพรวมที่ก่อให้เกิดความเครียดอยูในระดับปานกลางและพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีระดับความเครียดในการทำงานในภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า (2) พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ที่มีเพศ แตกต่างกัน มีระดับความเครียดในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยปัจจัยด้านงานที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งได้แก่ ด้านปริมาณและคุณภาพของงานที่ทำในปัจจุบัน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านกิจกรรมของหน่วยงาน โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับน้อย (4) เพื่อลดระดับความเครียดในการทำงานของพนักงาน หัวหน้างานควรจัดสรรปริมาณงานให้พอดีกับพนักงานภายในหน่วยงาน บริษัทควรสนับสนุนให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพอย่างเต็มที่ รวมถึงควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหวางพนักงาน เพื่อช่วยลดความเครียดในการทำงาน และเสริมสร้างความสุขในการทำงานได้มากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความเครียดในการทำงานth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในการทำงานของพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting work stress : a case study of sales representative in a company in Ladkrabang Industrial Estateen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were to study (1) the factors leading to stress and the levels of stress in operation of sales representative of a company in Ladkrabang Industrial Estate (2) the relations between the sales representative’ personal characteristics influencing on the level of stress of sales representative of a company in Ladkrabang Industrial Estate (3) the relations of the job roles influencing on the levels of stress in operation of the sales representative of a company in Ladkrabang Industrial Estate and (4) to provide suggestions to the sales representative of a company in Ladkrabang Industrial Estate for solving problems on stress. Populations were 300 sales person of a company in Ladkrabang Industrial Estate. Sample was calculated with the method (formula) of Taro Yamane and the researcher simply randomized 172 samples. The researcher had created own questionnairs for collecting data. The reliability of the job roles was 0.7899 and the reliability of the stress in operation was 0.7847. The statistics for this study were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way anova and Pearson product moment correlation coefficient. The results were found that: (1) the sales representative of a company in Ladkrabang Industial Estate had average level of the job roles that causing stress in middle level and the sales representative of a company in Ladkrabang Industrial Estate had average level of stress in the middle level. The assumptions of this study were (2) genders of the sales representative of a company in Ladkrabang Industrial Estate were different with the job stress at statistically significant level of 0.05 (3) factors influencing on stress in operation with the job stress at statistically significant level of 0.01 were present job roles, co-workers involvement and internal activities of organization and (4) suggestions to reduce the sales representative’ stress in operations were supervisors providing job roles appropriated to the staff, the company providing more trainings for job improvement and supporting activities for building relations among staffen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130959.pdf10.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons