Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7681
Title: ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในการทำงานของพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
Other Titles: Factors affecting work stress : a case study of sales representative in a company in Ladkrabang Industrial Estate
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วลิดา ไชยะโพธิ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความเครียดในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดและระดับ ความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (2) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานขายของบริษัท แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานที่มีผลต่อระดับ ความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และ (4) เสนอแนะแนวทางในการแกปัญหาความเครียดให้แก่พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ประชากรได้แก่ พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 300 คน ขนาดตัวอย่าง จำนวน 172 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามด้านปัจจัยด้านงานมีค่าความเชื่อมั่น 0.7899 และแบบสอบถามระดับ ความเครียดในการทำงานมีค่าความเชื่อมั่น 0.7847 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบ ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบแบบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า (1) พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีปัจจัยด้านงานในภาพรวมที่ก่อให้เกิดความเครียดอยูในระดับปานกลางและพนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง มีระดับความเครียดในการทำงานในภาพรวมอยูในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า (2) พนักงานขายของบริษัทแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ที่มีเพศ แตกต่างกัน มีระดับความเครียดในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยปัจจัยด้านงานที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งได้แก่ ด้านปริมาณและคุณภาพของงานที่ทำในปัจจุบัน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านกิจกรรมของหน่วยงาน โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับน้อย (4) เพื่อลดระดับความเครียดในการทำงานของพนักงาน หัวหน้างานควรจัดสรรปริมาณงานให้พอดีกับพนักงานภายในหน่วยงาน บริษัทควรสนับสนุนให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อความก้าวหน้าทางอาชีพอย่างเต็มที่ รวมถึงควรจัดให้มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหวางพนักงาน เพื่อช่วยลดความเครียดในการทำงาน และเสริมสร้างความสุขในการทำงานได้มากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7681
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
130959.pdf10.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons