กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7697
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public participation in Robmuang Sub-district Administration Organization local development plan, Muang District, Roi Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิเดช สิทธิพรหม, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาชุมชน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--ร้อยเอ็ด
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (2) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับการมีส่วนร่วม (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจกับระดับการมีส่วนร่วม และ(4) ความสัมพันธ์ของหลักธรรมาภิบาลกับระดับการมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนทั่วไปและผู้นำชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลรอบเมือง จำนวน 15,958 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 390 คน และผู้นำชุมชน 10 คน ทำการสุ่มตัวอย่างอย่าง่าย โดยการใช้สูตรหาจำนวนกลุ่มประชากรใน กรณีที่ทราบจำนวนประชากร โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ซึ่งมีค่าความเที่ยงที่ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.23 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ (3) ปัจจัยจูงใจ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) หลักธรรมาภิบาลมี ความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7697
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_150246.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons