Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7705
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Other Titles: Analysis of costing incurred in running STOU'S bachelor degree
Authors: วรรณี ชลนภาสถิตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรินทร์ เทศวานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชูจิตร วิสุทธิ์สิริ, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
การจัดการศึกษา -- ไทย
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย -- ค่าใช้จ่าย
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี (2) ศึกษาอัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักศึกษา (3) วิเคราะห์จุดคุ้มทุนในการจัดการศึกษา (4) ศึกษา แนวทางการกำหนดค่าลงทะเบียนเรียนและการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของนักศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นในการจัดเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายตามกระบวนการการเรียน การสอนในแต่ละกิจกรรมและวิเคราะห์ต้นทุนโดยใช้แนวคิดทางบัญชีต้นทุนในการจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรม วิเคราะห์จุดคุ้มทุนโดยการใช้สูตร การกำหนดอัตราเรียกเก็บใช้หลักการตั้งราคาโดยการบวกเพิ่มจากต้นทุน (Cost-Plus Pricing) และคำนึงถึงคู่แข่งข้น ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาระดับปริญญาดรี ที่คำนวณจากข้อมูลที่ เก็บได้ใน พ.ศ. 2543 ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ การจัดทำใบสมัครและขายใบสมัครชุดละ 53 บาท ค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนและจัดทำประวัตินักศึกษาคนละ 131 บาท ค่าใช้จ่ายในการปฐมนิเทศ นักศึกษาคนละ 26 บาท ค่าใช้จ่ายในกระบวนการลงทะเบียนเรียนคนละ 66 บาทต่อภาคการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตเอกสารการสอนและแบบฝึกปฏิบัติและค่าจัดส่งชุดละ 396 บาท ค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อการศึกษาคนละ 92 บาท ค่าใช้จ่ายในการสอนเสริมชุดวิชาละ 130 บาท ค่าใช้จ่ายในการให้บริการห้องสมุดคนละ 9 บาทต่อ ภาคการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการสอบประจำภาคและสอบซ่อมชุดวิชาละ 53 บาท และ 109 บาท ค่าใช้จ่ายใน กิจกรรมนักศึกษาคนละ 4 บาท ต่อภาคการศึกษา ค่าใช้จ่ายในกระบวนการสำเร็จการศึกษาคนละ 476 บาท และ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการที่จ่ายจากค่าบำรุงการศึกษาคนละ 308 บาทต่อภาคการศึกษา จ่ายจากค่าธรรมเนียม แรกเข้าคนละ 413 บาท ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักศึกษา ได้แก่ ค่าระเบียบการและใบสมัครชุดละ 100 บาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้าคนละ 400 บาทค่าบำรุงการศึกษาคนละ 150 บาทต่อภาคการศึกษาค่าชุดวิชา ชุดละ 200 บาทค่าวัสดุการศึกษาชุดวิชาละ 300 บาท ค่าธรรมเนียมสอบซ่อมชุดวิชาละ 100 บาท ค่าธรรมเนียม บัณฑิตคนละ 400 บาท ต้นทุนและจุดคุ้มทุนในการจัดการศึกษาพบว่า เกือบทุกรายการมีต้นทุนสูงกว่าอัตรา ที่เรียกเก็บ ยกเว้นค่าระเบียบการและใบสมัคร โดยมีต้นทุนค่าระเบียบการและใบสมัครชุดละ 53 บาท จุดคุ้มทุน จำนวนขายระเบียบการและใบสมัคร 41,774 ชุด ต้นทุนค่าธรรมเนียมแรกเข้าคนละ 569 บาท จุดคุ้มทุนจำนวน นักศึกษา 111,980 คน ต้นทุนค่าบำรุงการศึกษาคนละ 321 บาทต่อภาคการศึกษา จุดคุ้มทุนจำนวนนักศึกษา 1,499,238 คน ต้นทุนค่าชุดวิชาชุดละ 271 บาท ต้นทุนค่าวัสดุการศึกษาชุดวิชาละ 396 บาท จุดคุ้มทุนจำนวนผลิต 396 คน-ชุด ต้นทุนค่าธรรมเนียมสอบซ่อมชุดวิชาละ 109 บาท จุดคุ้มทุน 352,000 คน-ชุด ต้นทุนค่าธรรมเนียม บัณฑิตคนละ 476 บาท จุดคุ้มทุนจำนวนนักศึกษา 15,234 คน ผลจากการศึกษาเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรปรับ ค่าธรรมเนียมการศึกษาในรายการที่สำคัญเป็นระยะทุก 5 ปี ทั้งนี้เพื่อปรับให้ทันกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สูงขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7705
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
79493.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons