Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7726
Title: | ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สัมพันธ์กับการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | Human resource management factors relating the human resource retention of the Office of the Permanent Secretary of Public Health |
Authors: | เฉลิมพงศ์ มีสมนัย สุนีย์ พลายแก้ว, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข--การบริหารงานบุคคล การธำรงรักษาพนักงาน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2) การดำเนินการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับการดำเนินการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ (4) ปัญหาและแนวทางการเสริมสร้างการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 269 คน ตามสูตรคำนวณของเครจซี่ มอร์แกน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับการดำเนินการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับการดำเนินการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ (4) ปัญหาที่พบคือ ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน ค่าตอบแทนน้อย ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการทำงาน (ด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ) เพื่อให้บุคลากรเกิดความสุขในการทำงาน และเต็มใจทำงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7726 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License