Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7727
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสน่ห์ จุ้ยโต | th_TH |
dc.contributor.author | พิรุณวรรณน์ จงใจภักดิ์, 2514- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-14T03:27:19Z | - |
dc.date.available | 2023-07-14T03:27:19Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7727 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (2) ศึกษาการดำเนินงานการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (3) ศึกษาความสัมพันธ์การจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ (4) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ จำนวนทั้งสิ้น 1,023คน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และผู้ปฏิบัติงาน โดยเป็นการศึกษา จากประชากร กลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่าง จำนวน 288 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณและสมการถดถอย พหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โดยรวม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านต้นทุนของการดำเนินงาน ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน ด้านปริมาณงานด้านเวลาของการปฏิบัติงาน และด้านวิธีการและกระบวนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก (2) การดำเนินงานการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการบ่งชี้ความรู้หรือการค้นหาความรู้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการจัดการ ความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยน ความรู้ และด้านการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก (3) การจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวง พาณิชย์ ปัญหาการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์มี 3 ประการ ได้แก่ 1) มีการดำเนินการ เฉพาะกลุ่มสายงานทางวิชาการ 2) ผู้บริหารขาดการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ คู่มือในการปฏิบัติงานยังไม่เป็นรูปธรรม และ 3 ) การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของหน่วยงานยังไม่ดีพอ (4) แนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้มี 3 ประการ ได้แก่ 1) ควรให้ความสำคัญกับสายงานทุกสายงาน ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน 2) ควรจูงใจให้บุคลากรใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้ จัดทำห้องสมุด ศูนย์อินเตอร์เน็ต ที่ให้บุคลากรเปิดใช้งานได้ง่าย สะดวกในทุก ๆ วัน 3) ควรกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ | th_TH |
dc.subject | การบริหารองค์ความรู้ | th_TH |
dc.title | การจัดการความรู้ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ | th_TH |
dc.title.alternative | Knowledge management of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to (1) study performance efficiency of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce (2) study the implementation of knowledge management of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce (3) study relationship between knowledge management and performance efficiency of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce and (4) study problems and development guidelines toward knowledge management of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce. This study was a survey research. The population was 1,023 government officials including executives, government officials and operatiional staff of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce. The sample size was calculated according to the formula of Taro Yamane totally 288 samples and the sampling method employed by stratified random sampling. The tool of this study was a questionnaire. Statistics used for data analyzing were frequency, percentage, standard deviation and multiple regression analysis. The results of this study showed that (1) the performance efficiency of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce had 5 parts including the operation cost, performance quality, operation time, operation method and operation procedure, there were shown at high level. Considering in each part, they was at high level. (2) The knowledge management operating of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce had 7 parts at high level as knowledge indication or knowledge exploration, knowledge creation and acquisition, knowledge management system, knowledge process and screening, knowledge access, knowledge sharing and learning throughout in each part was at high level (3) knowledge management had positive relationship with the performance efficiency of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce There were 3 problems toward efficiency of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce such as 1) operation only academic division 2) executives lacked of knowledge management system and operation manual was inefficiency and 3) the facilitation to access the information of the organization was poor. (4) The knowledge management development guidelines were explored in 3 aspects: 1) giving the priority to all divisions both academic and supporting, 2) motivating the officials to take advantage of knowledge sources, developing library center, internet center where which provided to the officials to use conveniently everyday 3) encouraging and promoting the officials to use the knowledge for developing their work more effectively. | en_US |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150961.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License