Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/774
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในพื้นที่ตรวจราชการสาธารณสุขเขต 4 |
Other Titles: | Factors related to the performance of subdistrict health officers in Public Health Region 4 according to standard operating procedures for dengue haemorrhagic fever prevention and control |
Authors: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ ทรรศน์พร ไหมสมบุญ, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรเดช ประดิษฐบาทุกา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข--การทำงาน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในพื้นที่ตรวจราชการสาธารณสุขเขต 4 (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุนจากองค์กร กระบวนการบริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุนจากองค์กร กระบวนการบริหารและแรงจูงใจกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยระดับตำบล ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 209 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 38.88 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ มีรายได้เฉลี่ย 18,963 บาท อายุราชการเฉลี่ย 17 ปี และระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเฉลี่ย 11.15 ปี การสนับสนุนจากองค์กรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง และกระบวนการบริหารอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การสนับสนุนจากองค์กร กระบวนการบริหาร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ได้แก่ งบประมาณล่าช้า ทรายทีมีฟอส และน้ำยาบางครั้งไม่เพียงพอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควร สนับสบุนงบประมาณและเคมีภัณฑ์ให้เพียงพอ ทันเวลา และการรับแจ้งผู้ป่วยข้อมูลไม่ครบถ้วนควรปรับปรุงระบบการรายงานให้ทันเวลา ข้อเสนอแนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับทักษะการใช้เครื่องพ่นเคมี การสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออก การประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนร่วมกับโรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประสานแผนการดำเนินงาน รวมทั้งส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/774 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
105494.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License