กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7757
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อห้องชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของผู้บริโภค : กรณีศึกษาห้องชุดพักอาศัยในครอบครองของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing mix factors contribuing to buyers of real estate owned by banks, particularly condominium units in greater Bangkok and its vicinity : a case study of Bank of Ayudhya Public Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุทธนา ธรรมเจริญ ชัชรัช เย็นบำรุง, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริชัย พงษ์วิชัย ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ห้องชุด--ไทย--กรุงเทพฯ ห้องชุด--ส่วนประสมการตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อ การซื้อห้องชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ของผู้บริโภคที่มีผลต่อการซื้อห้องชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อห้องชุดพักอาศัยของผู้บริโภค จำแนกตามคุณสมบัติ ด้านประชากรศาสตร์ โดยทำการศึกษาวิจัยจากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ซื้ออาคารชุดพักอาศัยจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 315 ตัวอย่าง ในด้านการวิเคราะห้ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ t-test และ F-test จากผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านราคา ที่ส่งผลต่อการซื้อ ได้แก่ ราคาถูกกว่าตลาด คุ้มค่ากับราคา และราคา อยู่ในเกณฑ์ที่รับภาระได้ 2. ด้านทำเลและสถานที่ตั้งที่ส่งผลต่อการซื้อ ได้แก่ อยู่ใน่ทำเลที่ตั้งดี ทางเข้าออกที่ สะดวกการไปทำงานสะดวก ใกล้ห้างสรรพสินค้า และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี 3. ด้านผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อการซื้อ ได้แก่ สภาพของอาคารที่มีและสภาพห้องชุดที่ดี 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด ที่ส่งผลต่อการซื้อ ได้แก่ เงื่อนไขดอกเบี้ยที่ถูก ระยะเวลา ในการผ่อนที่นาน และการให้สินเชื่อในสัดส่วนที่สูง คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลทำให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาด แตกต่างกันคือ 1) ภูมิลำเนา 2) ระดับการศึกษา และ 3) รายได้ของครอบครัวต่อเดือน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7757 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License