กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/775
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation on work life quality among health personnel at Sub-District Level in Suphan Buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์
ทองเผื่อ เหล็งหวาน, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บุคลากรสาธารณสุข--ความพอใจในการทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลการรับรู้ความสามารถในการทำงานของตนเองและการรับรู้ต่อระบบบริหาร และลักษณะงานและความเกี่ยวข้องผูกพันกับงาน (2) ประเมินคุณภาพชีวิตการทำงาน (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลจังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลจังหวัดสุพรรณบุรี โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมดจำนวน 454 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามดังนี้ ความคิดเห็นด้านการทำงาน 0.8690 การรับรู้ 0.9066 และคุณภาพชีวิตการทำงาน 0.8674 ผู้วิจัยนำส่งและเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มประชากรโดยตรง วิเคราะห์และประเมินผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแคว์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มประชากรที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 73.6 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ดำรงตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขประสบการณ์ทำงานที่สถานีอนามัย 1-9 ปี เงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และ 25,001 - 30,000 บาทต่อเดือน ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 24.4 และ 24.3 (2) คุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง คือ ด้านการรับรู้ ความสามารถในการทำงานและการรับรู้ต่อระบบบริหารลักษณะงานและความเกี่ยวข้องผูกพันกับงาน อยู่ในระดับสูง และ (3) ปัจจัยทางด้าน เพศ ตำแหน่ง การรับรู้ ความสามารถในการทำงานของตนเองและการรับรู้ต่อระบบบริหาร ลักษณะงานและความเกี่ยวข้องผูกพันกับงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากงานวิจัยบ่งบอกว่าการประเมินคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับสูง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/775
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118471.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons