Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7766
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี |
Other Titles: | Factors affecting staff job performance at Government Saving Bank, Nonthaburi Zone |
Authors: | ธนชัย ยมจินดา จิราภรณ์ ช่วยรอด, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | ธนาคารออมสิน--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทำการศึกษาเฉพาะพนักงานธนาคารออมสิน เขตนนทบุรี จำนวน 106 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบทีและแบบเอฟ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน ทั้งนี้ได้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 41 - 50ปี สมรสแล้ว การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 11 - 20 ปี เป็นพนักงานปฏิบัติการ 6-7 มีรายได้ 30,001-40,000บาท นอกจากนั้นยังพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี (2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นในระดับดีทุกด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถ รองลงมาคือด้านการจูงใจ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านโอกาส และด้านการ ให้อำนาจ (3) ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวม (r= 0.849) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยรวมมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ ด้านนวัตกรรม และต้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7766 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127303.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License