กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/776
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมทางการเมืองในการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The political behavior in annual expenditure budget-making regulations of Subdistrict Administrative Organization in Mueang District, Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วุฒิพงศ์ บัวช้อย, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--เพชรบูรณ์
การเมือง
องค์การบริหารส่วนตำบล--งบประมาณ
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายบริหาร เกี่ยวกับการ จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล (2) พฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายสภาฯ เกี่ยวกับการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล (3) พฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายปฏิบัติการ เกี่ยวกับการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล (4) ขั้นตอนของการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล (5) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาฯ และฝ่ายปฏิบัติการกับขั้นตอนของการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายบริหาร เกี่ยวกับการจัดทำ ข้อบัญญัติฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ในระหว่างการจัดทำข้อบัญญัติฯ ไต้คำนึงถึงโครงการที่บรรจุในแผนฯ3 ปี ผลการสัมภาษณ์ได้คำนึงถึงความสำคัญกับปัญหาและโครงการที่มีในแผนฯ 3 ปี (2) พฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายสภาฯ เกี่ยวกับการจัดทำข้อบัญญัติฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ในระหว่างการจัดทำข้อบัญญัติฯ คำนึงถึงโครงการที่ไต้มาจากประชาคมชาวบ้าน ผลการสัมภาษณ์พบว่าให้ความสำคัญกับปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชน (3) พฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำข้อบัญญัติฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือในระหว่างการจัดทำข้อบัญญัติฯได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำข้อบัญญัติฯ (4) พฤติกรรมทางการเมืองของทั้ง 3ฝ่ายเกี่ยวกับการจัดหำข้อบัญญัติฯ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือร่างข้อบัญญัติฯได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ ตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ (5) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเมืองของฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาฯ และฝ่ายปฏิบัติการกับขั้นตอนการจัดทำข้อบัญญัติฯ พบว่า ทั้ง 3 ฝ่ายต่างมีความสัมพันธ์กับขั้นตอนของการจัดทำข้อบัญญัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
100827.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons