กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/777
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the unrest in the three southern border province of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐปนรรต พรหมอินทร์
วีรพล วรานนท์, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จุมพล หนิมพานิช
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ความขัดแย้งทางสังคม--ไทย (ภาคใต้)
การก่อการร้าย--ไทย (ภาคใต้)
ไทย (ภาคใต้)--ปัญหาและข้อพิพาท
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา (1) ความเป็นมาของปัญหาความไม่สงบใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 ชังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เลวร้ายลงตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เหตุร้ายเกิดขึ้นทั้งในเมืองและชนบท เหยื่อผู้ถูกกระทำมีทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป (2) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการแทรกแซงจากภายนอกประเทศ ปัจจัยด้านอุดมคติรัฐปัตตานี และปัจจัยด้านสังคมจิตวิทยา ล้วนมีผลต่อการเกิดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 ชังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งสิ้น โดยปัจจัยด้านการเมืองการปกครองจะมีส่วนสำคัญที่สุดที่ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อเนื่องไปสู่ปัจจัยด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งทำให้ปัญหามีความยู่งยากซับช้อนมากขึ้น (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นจะต้องเร่งยุติปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ให้ได้ ส่วนในระยะยาวต้องสร้างระบบการเมืองการปกครองในพื้นที่ให้เข้มแข็ง ร่วมกับการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชนในพื้นที่ และการสร้างความเจริญในด้านต่าง ๆให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/777
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
99127.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons