กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7789
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between the innovative leadership of school administrators and being of learning organization of secondary schools in Phuket Province under the Secondary Education Service Area Office 14
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
คณิศร ผู้มีทรัพย์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--ภูเก็ต
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดภูเก็ต (2) ระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดภูเก็ต ปีการศึกษา 2563 จำนวน 269 คน ได้จากกำหนดสัดส่วนและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบ สอบถามแบบประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร และความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และ .87 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดภูเก็ต โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการให้กำลังใจแก่บุคลากรในองค์การ ด้านการกำหนดภาระงานที่เหมาะสม ด้านผลงานนวัตกรรมที่ท้าทาย ด้านการจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอ ด้านการมีเสรีภาพ ด้านการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน ด้านการขจัดอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม และด้านการสนับสนุนและให้กำลังใจบุคลากร (2) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความรอบรู้ของบุคคล ด้านการเรียนรู้กันเป็นทีม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านรูปแบบทางความคิด และ (3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7789
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons