Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/778
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทองปาน พันจุย, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-20T02:24:37Z-
dc.date.available2022-08-20T02:24:37Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/778-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะชายแดนและลักษณะผู้มารับบริการ (2) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และ (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัด ประชากรที่ศึกษา เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตาพระยา อำเภอโคกสูง อำเภออรัญประเทศ และอำเภอคลองหาด จำนวนทั้งหมด 170 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 36.9 ปี สถานภาพสมรส ตำแหน่งข้าราชการ ประเภทเจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี ประสบการณ์การทํางานเฉลี่ย 13.39 ปี และรายได้เฉลี่ย 8,687.73 บาท ลักษณะชายแดนในภาพรวมอยู่ระดับมาก และลักษณะผู้มารับบริการในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (2) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขอยู่ในระดับดี (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง ส่วนระดับการศึกษา และประเพณีวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ ปัญหาด้านการสื่อสารของชาวกัมพูชาที่มารับบริการ การรักษากันเองของชาวบ้านก่อนมาพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การไปทํางานต่างถิ่น รวมทั้งความไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมของค่าตอบแทนและสวัสดิการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการพัฒนาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านการใช้ภาษากัมพูชาที่จำเป็นต่อการทํางาน ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชาวกัมพูชา การปรับแผนเวลาการออกไปให้บริการ หมู่บ้านให้สอดคล้องกับเวลาของชาวบ้าน รวมทั้งการเพิ่มขวัญกำลังใจ ค่าตอบแทน และการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุข--ไทย--สระแก้วth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน--ไทย--สระแก้วth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้วth_TH
dc.title.alternativeFactors related to quality of working life among health officers in a Thai-Cambodian border area of Sa Kaeo provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to study (1) characteristic factors of personal, border area, and service customers, (2) quality of work life among health officers, (3) factors related to quality of work life among health officers in the Thai-Cambodian border area, and (4) problems, obstacles and suggestions to develop the quality of work life among health officers in the Thai-Cambodian border area of Srakeao Province. The study population was 170 health officers, working in the Thai-Cambodian border districts of Srakeaw province-namely Tapaya, Koksong, Aranyapradet, and Klonghard, recruited by purposive random sampling method. The study instrument was a self-produced questionnaire, with its reliability of 0.87. Statistics used for data analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, and Person's Product Moment Correlation Coefficient. The results revealed that (1) most respondents were female, with average age of 36.9 years, married, in a civil servant position of healthcare services, bachelor's degree holders, having 13.39 years of work experience, and having a monthly income of 18,687.73 baht. The characteristics of border area was at a high level, but the characteristic of service customers was at a moderate level; (2) the quality of their work life was at a good level; (3) the factors related to the quality of work life, with statistically significant difference at 0.05, were personal factors of a position title, while the factors of educational level and culture were statistically significantly related at 0.001; and (4) major problems and obstacles founded were communication with Cambodian service customers, self-treatment of patients before visiting health officers, and fieldworks. In addition, insufficient and inappropriate benefits and welfares for health officers were identified. Suggestions were that the health officers should be trained for Khmer language, which is necessary for work. They should also support for behavior modification among Cambodian service customers, and change the time plan for health visit to villages. Increased morale support and rewards, and appropriate welfares should be provided for health officers who work in the border areaen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118391.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons