กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/778
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to quality of working life among health officers in a Thai-Cambodian border area of Sa Kaeo province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทองปาน พันจุย, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย--สระแก้ว
คุณภาพชีวิตการทำงาน--ไทย--สระแก้ว
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะชายแดนและลักษณะผู้มารับบริการ (2) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และ (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัด ประชากรที่ศึกษา เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตาพระยา อำเภอโคกสูง อำเภออรัญประเทศ และอำเภอคลองหาด จำนวนทั้งหมด 170 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 36.9 ปี สถานภาพสมรส ตำแหน่งข้าราชการ ประเภทเจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี ประสบการณ์การทํางานเฉลี่ย 13.39 ปี และรายได้เฉลี่ย 8,687.73 บาท ลักษณะชายแดนในภาพรวมอยู่ระดับมาก และลักษณะผู้มารับบริการในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง (2) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขอยู่ในระดับดี (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง ส่วนระดับการศึกษา และประเพณีวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) ปัญหาและอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ ปัญหาด้านการสื่อสารของชาวกัมพูชาที่มารับบริการ การรักษากันเองของชาวบ้านก่อนมาพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การไปทํางานต่างถิ่น รวมทั้งความไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมของค่าตอบแทนและสวัสดิการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการพัฒนาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านการใช้ภาษากัมพูชาที่จำเป็นต่อการทํางาน ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของชาวกัมพูชา การปรับแผนเวลาการออกไปให้บริการ หมู่บ้านให้สอดคล้องกับเวลาของชาวบ้าน รวมทั้งการเพิ่มขวัญกำลังใจ ค่าตอบแทน และการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/778
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118391.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons