Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7791
Title: | การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภาษาถิ่นเชียงใหม่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Development of a computer-assisted instruction on Chiang Mai Local Language for Prathom Suksa VI students in Chiang Mai Province |
Authors: | วรรณา บัวเกิด ศิรินภา ก้อนธิมา, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาษาถิ่น--แบบเรียนสำเร็จรูป การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ภาษาถิ่นเชียงใหม่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภาษาถิ่นเชียงใหม่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลหางดง (ประชาคมสร้างสรรค์) อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องภาษาถิ่นเชียงใหม่สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) แบบตรวจสอบคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภาษาถิ่นเชียงใหม่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย บทเรียนจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดเชียงใหม่ คำศัพท์หมวดเครือญาติ คำศัพท์หมวดสิ่งของเครื่องใช้ คำศัพท์หมวดผักและผลไม้ และคำศัพท์หมวดสัตว์ โดยแต่ละบทมีจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมท้ายเรื่อง รวมทั้งแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (2) คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านเนื้อหา ด้านเทคโนโลยี มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7791 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 32.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License