Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7814
Title: ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการเรือนจำกลางนครปฐมและเรือนจำกลางเพชรบุรี
Other Titles: Factors affecting the performance operations of government official : a case study of Naknonpathom [i.e. Nakhon Pathom] Prison, Phetchaburi Prison
Authors: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อโนทัย สุขีวงศ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
เรือนจำ--ข้าราชการและพนักงาน.
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ ข้าราชการเรือนจำกลางนครปฐม และเรือนจำกลางเพชรบุรี (2) เปรียบเทียบปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการเรือนจำกลางนครปฐม และเรือนจำกลางเพชรบุรี (3) หาแนวทางในการปรับปรุงปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการให้สอดคล้องกับความต้องการของข้าราชการเรือนจำกลางนครปฐม และเรือนจำกลางเพชรบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานประจำเรือนจำกลางนครปฐม และ เรือนจำกลางเพชรบุรี จำนวน 191 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 130 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง แบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยจูงใจและปัจจัยอนามัยมีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการ เรือนจำกลางนครปฐมและเรือนจำกลางเพชรบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่าปัจจัยจูงใจด้าน ความสำเร็จในปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือความรับผิดชอบ และน้อยที่สุดคือ ความก้าวหน้าในหน้าที่ปฏิบัติงาน และปัจจัยอนามัยด้านค่าตอบแทนมากที่สุด รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และน้อยที่สุดคือด้านการบังคับบัญชา (2) ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการ เรือนจำกลางนครปฐมและเรือนจำกลางเพชรบุรีไม่แตกต่างกัน โดยปัจจัยจูงใจด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนการได้รับการยอมรับความสำเร็จในการปฏิบัติงานและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานตามลำดับ (3) แนวทางเสริมสร้างความสำเร็จในการปฏิบัติงานประกอบด้วยแนวทางการดำเนินการ 3 แนวทางคือ ด้านการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง ได้แก่ อบรบให้ความรู้เจ้าหน้าที่เพิ่มทักษะร่วมเน้นการฝึกวิชาชีพที่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันหลังพ้นโทษ ด้านการบริหารงานบุคคลกรขาดการมอบหมายหน้าที่ การจัดอัตรากาลัง ความร่วมมือประสานงาน ด้านการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ภายในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ขาดความรู้ งบประมาณ การบำรุงรักษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7814
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_145398.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons