Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7821
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจำในเรือนจำและทัณฑสถานจังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Factors influencing the effectiveness of the control inmates of Prison Officers in Prisons and Correctional Institution Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | จําเนียร ราชแพทยาคม ศิริวรรณ วงษ์แย้ม, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี นักโทษ--ไทย--นครราชสีมา นักโทษ--การควบคุม ทัณฑสถาน เจ้าพนักงานเรือนจำ การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัดระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจําในเรือนจําและทัณฑสถานจังหวัดนครราชสีมาในสภาพปัจจุบัน (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจําในเรือนจําและทัณฑสถาน จังหวัดนครราชสีมา และ (3) ศึกษาข้อคิดเห็นสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะตลอดจนแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจําในเรือนจําและทัณฑสถานจังหวัดนครราชสีมา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ โดยประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าพนักงานเรือนจําในเรือนจํา และทัณฑสถานจังหวัดนครราชสีมา จํานวน 6 แห่ง รวม 523 คน กลุ่มตัวอย่างจํานวน 227 คน คํานวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้การสุ่มตัวอย่างสองขั้นตอน คือ แบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วนและแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลของการควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจําใน เรือนจําและทัณฑสถานจังหวัดนครราชสีมาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการควบคุมผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจําในเรือนจําและทัณฑสถาน จังหวัดนครราชสีมา คือ ปัจจัยด้านทรัพยากรการบริหาร โดยสามารถอธิบายประสิทธิผลได้ร้อยละ 23 และ (3) ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการควบคุมผู้ต้องขังที่พบสูงสุด คือ อัตรากําลังเจ้าพนักงานเรือนจําไม่เพียงพอ กับการควบคุมผู้ต้องขัง ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการควบคุมผู้ต้องขังที่ผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุสูงสุดคือ การฝึกอบรมและพัฒนาเจ้าพนักงานเรือนจําให้มีความรู้ ความชํานาญ ความเชี่ยวชาญในงานราชทัณฑ์ ซึ่งผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ กําหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเจ้าพนักงานเรือนจํา ให้เป็นผู้มีสมรรถนะสูงและมีจรรยาบรรณ มุงเน้นการใช้คนน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูง และกําหนดยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและโทรศัพท์มือถือในเรือนจํา/ทัณฑสถานให้เป็นวาระเร่งด่วน เพื่อตัดโอกาสการกระทําผิดของผู้ต้องขัง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7821 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_145880.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License