กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7822
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานประกันสังคมในภาคตะวันตกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the achievement of results based management of the Social Security Office in the West of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จําเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฤทัยรัตน์ ช้างเงิน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานประกันสังคม--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสําเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสํานักงานประกันสังคมในภาคตะวันตกของประเทศไทย (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสํานักงานประกันสังคมในภาคตะวันตกของประเทศไทย และ (3) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของ สํานักงานประกันสังคมในภาคตะวันตกของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรได้แก่บุคลากรของสํานักงานประกันสังคมจังหวัดในเขตภาคตะวันตกจํานวนทั้งหมด 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสําเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสํานักงาน ประกันสังคมในภาคตะวันตกของประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสํานักงานประกันสังคมในภาคตะวันตกของประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาลําดับจากการตอบแบบสอบถาม 3 ลําดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นํา ปัจจัยด้านการบริหารองค์กร ปัจจัยด้านมนุษยสัมพันธ์ตามลําดับ และ (3) ปัญหาในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์คือ ขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสาร ขาดการประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา ความสามารถในการใช้กลยุทธ์การสื่อสารมีน้อย กำกับดูแลผลการปฏิบัติงานไม่ทั่วถึง ไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่วนข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรพัฒนาทักษะให้เจ้าหน้าที่โดยการจัดโครงการอบรมหลักสูตรการสร้างทีมงานและนวัตกรรม รวมทั้งจัดกิจกรรมและเพิ่มช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7822
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_145881.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons