Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7827
Title: การบริหารยุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ
Other Titles: Strategic management of Department of Older Persons
Authors: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชามญชุ์ สมานรักษ์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมกิจการผู้สูงอายุ--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษายุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ (2) วิเคราะห์กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุตามแนวทางการบริหารแบบสมดุล (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จใน การบริหารยุทธศาสตร์และ (4) ศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารยุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 15 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของกรมกิจการผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง กับการจัดทำยุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ คือ ผู้บริหารระดับสูง 1 คน ผู้อำนวยการระดับกอง/กลุ่ม จำนวน 5 คน และข้าราชการที่รับผิดชอบในการทำยุทธศาสตร์จำนวน 9 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ สัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและอธิบายในรูปแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า (1) ยุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุมีทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ซึ่งล้วนเป็นยุทธศาสตร์ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาแผน มาตรการ เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุการสร้างความ ตระหนักให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมคุณภาพสำหรับผู้สูงอายุโดยการใช้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่มีอยู่สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม รวมถึงการเข้าถึงบริการสังคมของภาครัฐ (2) กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก วิเคราะห์การกาหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ดัชนีชี้วัดการบริหารยุทธศาสตร์ และการประเมินยุทธศาสตร์พบว่ามีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวง และมีมุมมองที่มีความสอดคล้องและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ขององค์กร ตามแนวทางการบริหารแบบสมดุลคือ มุมมองทางด้านการเงิน ลูกค้า และด้านการ เรียนรู้และการเจริญเติบโต (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์ คือ 1) ปัจจัยภายในองค์การได้แก่ บุคลากรมีความรู้และมีทักษะ มีพระราชบัญญัติรองรับมีการจัดทำแผนผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารและนโยบายมีความชัดเจน มีระบบงานและองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุที่ดีและโครงสร้างเหมาะสม 2) ปัจจัยภายนอก ที่มีอิทธิพล ได้แก่ รัฐให้ความสำคัญกับนโยบายผู้สูงอายุมีงบประมาณในการจัดระบบสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุ เทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรม และมีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานและ (4) ปัญหาในการบริหารยุทธศาสตร์ ได้แก่ บุคลากรไม่เพียงพอไม่มีระบบฐานข้อมูลที่ดีในการจัดการ ความรู้ที่เป็นแบบแผน กรมกิจการผู้สูงอายุเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนในการเรียนรู้งาน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้งานขาดความต่อเนื่อง การจ่ายสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุมีมากขึ้น เครือข่ายไม่เห็นความสำคัญ และการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ส่งผลต่อผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารยุทธศาสตร์ของกรมกิจการผู้สูงอายุคือ ควรให้บุคลากรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ จัดทำแผนที่ทางยุทธศาสตร์ และควรส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรส่งเสริมความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนให้ร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน ด้านผู้สูงอายุ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักอยางกว้างขวาง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7827
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_147760.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons