กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7839
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับต้นต่อการบริหารงานสวัสดิการสังคมกรณีศึกษา : สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Participation of front-line administrators in social welfare administration a case study from the Office of Welfare Promotion, Protection and Empowerment of Vulnerable Groups
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตตินันท์ ชะเนติยัง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุลวีณ์ วุฒิกร, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กฯ -- การบริหาร
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กฯ -- บริการสังคม
บริการสังคม -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วม และความต้องการมีส่วนร่วม ของ ผู้บริหารระดับต้นต่อการบริหารงานสวัสดิการสังคม (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของการมี ส่วนร่วมและความต้องการมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับต้นต่อการบริหารงานสวัสดิการสังคม โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารระดับต้นซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานที่เป็น ข้าราชการ ระดับ 6,7 และ 8 ทั้งห้าสำนัก ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและความต้องการมีส่วนร่วมใน 4 ด้าน คือ การค้นหาปัญหาและสาเหตุ การวางแผนดำเนินกิจกรรม การลงทุนและปฏิบัติงาน และ การติดตามและประเมินผล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี L.S.D ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมในปัจจัยของผู้บริหารระดับต้นต่อการบริหารงาน สวัสดิการสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ระดับต้น ต่อการบริหารงาน สวัสดิการสังคมอยู่ในระดับมาก (2) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง การมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับต้นต่อการบริหารงาน สวัสดิการสังคมโดยจำแนกตามข้อมูลส่วน บุคคล พบว่าไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างความต้องการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ระดับต้นต่อการบริหารงานสวัสดิการสังคม โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า วุฒิการศึกษา การฝึกอบรมด้านบริหารจัดการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7839
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
81301.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons