กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7845
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between human resource management and organizational commitment of employees at Bhumibol Adulyadej Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อังคณา แสงสุระ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช--การบริหารงานบุคคล
ความผูกพันต่อองค์การ--ไทย
ความภักดีของลูกจ้าง
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (2) ระดับความผูกพันองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 1,726 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้ 313 คน สุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความปลอดภัยและสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ส่วนด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นอยู่ในระดับน้อยที่สุด (2) ระดับความผูกพันองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวขององค์การอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านความจงรักภักดีต่อองค์การ และ ด้านความเกี่ยวพันกับองค์การตามลำดับ และ (3) ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันองค์การในภาพรวมพบว่ามีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7845
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161247.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons