Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/785
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี สุรเชษฐth_TH
dc.contributor.authorอภิชิต ตัณฑสิทธิ์, 2517-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-20T03:16:13Z-
dc.date.available2022-08-20T03:16:13Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/785en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558th_TH
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับวินัย และการลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน รวมถึงกรณีการชี้มูลความผิดโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. หลักการอุทธรณ์ และการวินิจฉัย อุทธรณ์การลงโทษทางวินัย (2) ศึกษาที่มา วัตถุประสงค์ อํานาจหน้าที่ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของ องค์กรพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535และคณะกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งเป็นองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (3) ศึกษาการพิจารณาคดีคําสั่งลงโทษ ทางวินัยของศาลปกครอง (4) ศึกษาเปรียบเทียบคณะกรรมการ ก.พ.ค. กับองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535องค์กรศาลปกครองของไทย และองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส (5) ศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารโดยรวบรวม ค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คําพิพากษาศาลปกครอง ตัวบทกฎหมาย ตลอดจน หนังสือตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การลงโทษทางวินัยต้องเป็นไปตามหลักการกระทําทางปกครองต้องชอบด้วย กฎหมาย และมีการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และการให้เหตุผล ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายของการลงโทษทางวินัย ในขณะเดียวกันต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของปัจเจกชนด้วยและในการควบคุมความชอบของคําสั่งลงโทษต้องมี การตรวจสอบตามหลักดังกล่าวเช่นกัน หากเป็นกรณีการควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครองของ ประเทศไทยปัจจุบัน คือ คณะกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งมีมาตรฐานสูงกว่าองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษเดิม มีลักษณะ เป็นองค์กรกึ่งตุลาการ ทําหน้าที่และมีกระบวนพิจารณาคล้ายศาลปกครองชั้นต้น แต่ในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่ง ลงโทษกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ชี้มูลความผิดนั้น คณะกรรมการ ก.พ.ค. ถูกจํากัดอํานาจให้พิจารณาได้เฉพาะเรื่อง ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากองค์กร พิจารณาคําสั่งลงโทษของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศสที่ไม่ปรากฏข้อจํากัดอํานาจในเรื่องนี้ แต่อย่างใดผู้วิจัย จึงเสนอให้การพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนั้น ควรมีอํานาจในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งอํานาจในการใช้ดุลพินิจลงโทษ โดยไม่จําต้องยึดตามฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลอันจะส่งผลให้กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เกิดความเป็นธรรมกบผู้ถูกลงโทษ และสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ซึ่งคํานึงถึงการลงโทษที่เหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทําความผิด และหลักมโนธรรมที่ต้องทบทวนให้รอบคอบth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.269en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการพิจารณาและตัดสินคดีth_TH
dc.subjectการลงโทษth_TH
dc.titleการพิจารณาอุธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม : ศึกษากรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดth_TH
dc.title.alternativeAppeal of disciplinary punishment order under a consideration of the merit system protection commission : the study of case in which allegations were proposed by the national counter corruption commissionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2015.269-
dc.identifier.urlhttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.269en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis are to 1) understand concepts and theoretical foundations of disciplinary punishment orders and appeals in civil services, especially those ruled out by the National Counter Corruption Commission; 2) examine purposes, responsibilities, accountabilities, and appealing procedures of (a) applicable agencies for disciplinary punishment orders established in response to the Civil Service Act 1992, and (b) the Merit Protection Board (as per the Civil Service Act 2008); 3) understand the roles of the Administrative Court in executing disciplinary punishment orders; 4) compare and contrast the appeal practices of Thai agencies with those in the US and France; and 5) suggest appropriate practices and improvement for the appealing procedures against disciplinary punishment orders. Thesis is conducted base on the qualitative methodology. The procedures comprise of documentary search, collecting data from books, journals, articles, theses and dissertations, Administrative court decisions, internet database, local and international laws and relevant government documents. The thesis findings show that, to be impartial and goal-oriented, disciplinary punishment order should be legal and evidence-based, and in accordance with overarching rationality and procedural monitoring without any violation of individual rights. The study also reveals that the Merit Protection Board of Thailand currently serves as a semi-judiciary agency with greater responsibility to act as a primary administrative court. However, the power of the Board is restricted as it can only cope with cases concerning supervisory-based penalization and ruled out by the National Anti-Corruption Committee. This conduct is different from those in similar organization processing appeals of disciplinary punishment order in US and France. The study suggests that the Merit Protection Board of Thailand should be empowered to consider and make judgments on any appeal cases against disciplinary penalties without guidance from the National Anti-Corruption Committee This empowerment would benefit the appealing process in terms of fairness and legal rationality.en_US
dc.contributor.coadvisorภาณุมาศ ขัดเงางามth_TH
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib151251.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons