กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/785
ชื่อเรื่อง: | การพิจารณาอุธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม : ศึกษากรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Appeal of disciplinary punishment order under a consideration of the merit system protection commission : the study of case in which allegations were proposed by the national counter corruption commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มาลี สุรเชษฐ อภิชิต ตัณฑสิทธิ์, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ภาณุมาศ ขัดเงางาม |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การพิจารณาและตัดสินคดี การลงโทษ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับวินัย และการลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน รวมถึงกรณีการชี้มูลความผิดโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. หลักการอุทธรณ์ และการวินิจฉัย อุทธรณ์การลงโทษทางวินัย (2) ศึกษาที่มา วัตถุประสงค์ อํานาจหน้าที่ และวิธีพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของ องค์กรพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535และคณะกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งเป็นองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 (3) ศึกษาการพิจารณาคดีคําสั่งลงโทษ ทางวินัยของศาลปกครอง (4) ศึกษาเปรียบเทียบคณะกรรมการ ก.พ.ค. กับองค์กรพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535องค์กรศาลปกครองของไทย และองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส (5) ศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารโดยรวบรวม ค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คําพิพากษาศาลปกครอง ตัวบทกฎหมาย ตลอดจน หนังสือตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การลงโทษทางวินัยต้องเป็นไปตามหลักการกระทําทางปกครองต้องชอบด้วย กฎหมาย และมีการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และการให้เหตุผล ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อให้การใช้ดุลพินิจเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และบรรลุเป้าหมายของการลงโทษทางวินัย ในขณะเดียวกันต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของปัจเจกชนด้วยและในการควบคุมความชอบของคําสั่งลงโทษต้องมี การตรวจสอบตามหลักดังกล่าวเช่นกัน หากเป็นกรณีการควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครองของ ประเทศไทยปัจจุบัน คือ คณะกรรมการ ก.พ.ค. ซึ่งมีมาตรฐานสูงกว่าองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษเดิม มีลักษณะ เป็นองค์กรกึ่งตุลาการ ทําหน้าที่และมีกระบวนพิจารณาคล้ายศาลปกครองชั้นต้น แต่ในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่ง ลงโทษกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ชี้มูลความผิดนั้น คณะกรรมการ ก.พ.ค. ถูกจํากัดอํานาจให้พิจารณาได้เฉพาะเรื่อง ดุลพินิจในการสั่งลงโทษของผู้บังคับบัญชาตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากองค์กร พิจารณาคําสั่งลงโทษของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศสที่ไม่ปรากฏข้อจํากัดอํานาจในเรื่องนี้ แต่อย่างใดผู้วิจัย จึงเสนอให้การพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของคณะกรรมการ ก.พ.ค. กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนั้น ควรมีอํานาจในการพิจารณาอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งอํานาจในการใช้ดุลพินิจลงโทษ โดยไม่จําต้องยึดตามฐานความผิดตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลอันจะส่งผลให้กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เกิดความเป็นธรรมกบผู้ถูกลงโทษ และสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ซึ่งคํานึงถึงการลงโทษที่เหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทําความผิด และหลักมโนธรรมที่ต้องทบทวนให้รอบคอบ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน)) --มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/785 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib151251.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License