Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7861
Title: กลยุทธ์การตลาดที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสกลนคร
Other Titles: Marketing strategy that serve demand of Thai tourist in Sakolnakhorn province
Authors: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไกรสร อินทิราช, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
นักท่องเที่ยว -- ไทย -- สกลนคร
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการกับลักษณะประชากร ศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสกลนคร (3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดให้สอด คล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย นายกเทศบาลเมือง กรรมการอาวุโสหอการค้าจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด เจ้าของบริษัทนำเที่ยวในจังหวัด และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัด สกลนคร 408 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi Square) ผลการวิจัยพบว่า (1) ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด สกลนคร เป็นดังนี้ 1.1) ด้านแหล่งท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมากที่สุด 1.2) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัวในสัดส่วนเท่าๆ กันกับ รถยนต์ของบริษัทนำเที่ยว 1.3) ด้านราคา นักท่องเที่ยวชาวไทยต้องการให้ค่าโดยสารรถโดยสารประจำ ทางปรับอากาศชั้น 1 อยู่ในช่วง 351-400 บาท/ราย/เที่ยว ส่วนค่าโดยสารเครื่องบิน อยู่ในช่วง 1,601’1,700 บาท/ ราย/เที่ยว สำหรับค่าที่พัก/คน อยู่ในช่วง 301-500 บาท/ราย และค่าใช้จ่ายอาหาร/วัน อยู่ในช่วง 201-300 บาท/ราย 1.4) ด้านการส่งเสริมทางการตลาด นักท่องเที่ยวรู้จักแหล่งท่องเที่ยวจากวิทยุโทรทัศน์มากที่สุด โดยมีรายการในโปรแกรมการท่องเที่ยวเป็นสาเหตุให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร ส่วนแรงจูงใจให้เข้ามาท่องเที่ยว ได้แก่ การบริการของบริษัทนำเที่ยว และมีความต้องการพักแรมในโรงแรม (2) ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับลักษณะ แหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการ ช่วงค่าโดยสารเครื่องบิน และช่วงค่าอาหารต่อวัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 (3) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยว ในจังหวัดสกลนคร พบว่า 3.1) ท่าการโฆษณางานประเพณีแห่ประสาทผึ้งผ่านโทรทัศน์ 3.2) หอการค้า จังหวัดต้องสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทนำเที่ยวเพื่อให้จัดโปรแกรมลงที่จังหวัดสกลนกร 3.3) หอการค้า จังหวัด ต้องนำข้อมูลแจ้งเจ้าของกิจการ ร้านอาหาร โรงแรม เพื่อการปรับปรุง ในด้านความหลากหลาย คุณภาพ การบริการ ราคา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7861
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82163.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons