กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7874
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารในสังกัดกรมแพทย์ทหารบก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the commitment of government officials in the Army Medical Department
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑารัตน์ พุฒตาล, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: กรมแพทย์ทหารบก--ข้าราชการ
ความผูกพันต่อองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารในสังกัดกรมแพทย์ทหารบก (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารในสังกัดกรมแพทย์ทหารบกจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยด้านองค์การของข้าราชการทหารใน สังกัดกรมแพทย์ทหารบก (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใฃ้ในการศึกษา คือ ข้าราชการทหาร สังกัดกรมแพทย์ทหารบก โดยมีประชากรทั้งสิ้น 460 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างคำนวณตามสูตรของยามาเน่ จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม แบบมาตรค่าของลิเคิร์ท การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ตามวิธี แอลเอสดี และการทดสอบความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทหารในสังกัดกรมแพทย์ ทหารบก โดยภาพรวมอยู่ในระดับผูกพันมาก โดยปัจจัยด้านความด้านความเชื่อมั่นในการยอมรับเป้าหมาย และค่านิยมขององค์การมากที่สุด และด้านการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด (2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัย ด้านลักษณะบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นความผูกพันต่อองค์การ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยด้านองค์การ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยทุกปัจจัยอยู่ในระดับส่งผลต่อ ความผูกพันมาก โดยปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติมากที่สุด และด้านโอกาสที่ได้รับ น้อยที่สุด (4) ปัจจัยด้านองค์การ มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ไปในทิศทาง เดียวกัน อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยองค์การ ด้านค่าตอบแทน/สวัสดิการ ด้านความสัมพันธ์ในองค์การ ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านภาวะผู้นำของหัวหน้างานและผู้บริหาร มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยองค์การด้านโอกาสที่ได้รับ ด้านวัฒนธรรมองค์การ มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7874
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151905.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons