Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7875
Title: ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดตาก
Other Titles: Strategies for operations of the Tak Provincial Office of Culture
Authors: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ละอองดาว ต้อนรับ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก--การบริหาร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์ เพื่อ(1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก (2) เสนอยุทธศาสตร์กลยุทธ์ในการดำเนินงานของสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดตาก รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ข้าราชการของสำนักงาน วัฒนธรรม จังหวัดตาก จำนวนทั้งสิ้น 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยผู้วิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง และการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ วิเคราะห์เนื้อหาโดยการวิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์และ ประเด็นการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพแวดล้อมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตากมีจุดแข็งคือ เป็นหน่วยงานที่มีโครงสร้างการทำงานที่เป็นระบบมีศักยภาพ และความพร้อมในการทำงาน จุดอ่อนคือ การให้บริการมีพื้นที่รับผิดชอบกว้างผู้ให้บริการมีจำนวนน้อย และมีภาระงานอื่นร่วมหลายด้าน ด้านโอกาสนโยบายของรัฐบาลให้การ สนับสนุนงานวัฒนธรรมหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาองค์กรภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนด้านอุปสรรค นโยบายทางการเมือง และนโยบายของผู้บริหารมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลต่อแผนงานประจำของหน่วยงาน (2) ข้อเสนอยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการดำเนินงานขอสำวัฒนธรรมจังหวัดตากประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 10 กลยุทธ์ ดังนี้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารแบบบูรณาการสู่การพัฒนางานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ 2) การบูรณาการงานด้านศาสนา ศิลปะ และ วัฒนธรรม ร่วมกับทุกภาคส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาบริการงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมให้มีคุณภาพและทั่วถึง ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การเพิ่มคุณภาพของระบบบริการ 2) การสนับสนุนและพัฒนาศูนย์กลางในการให้บริการงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ได้แก่ 1) การส่งเสริมและการพัฒนาการองค์ความรู้ให้กับเครือข่าย สภาวัฒนธรรม 2) การค้นหาและสร้างเครือข่ายรายใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการ และการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศระบบข้อมูลการบริการ 2) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตอบสนองต่อการให้บริการของประชาชน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การส่งเสริม และการพัฒนาองค์ความรู้ 2) เสริมสร้างและพัฒนาระบบการบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7875
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_151885.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons