Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/789
Title: | การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง หน่วยไตเทียม สถาบันบำราศนราดูร |
Other Titles: | The development of a care management model for patients undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis at hemodialysis unit in Bamrasnaradura Infectious Disease Institute |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา วิศิษฏ์ ประสิทธิศิริกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภาพร อยู่แดง, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ ผู้ป่วย--การดูแล ไต, การล้างทางหน้าท้อง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องของหน่วยไตเทียม สถาบัน บำราศนราดูร 2) สร้างรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้ข้อมูลหลักสำหรับการวิเคราะห์สภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย แพทย์ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คน ผู้ป่วย 3 คน และผู้ดูแล 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสำหรับประเมินรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิเคราะห์สภาพการณ์ฯ 4 คน ผู้บริหาร 3 คน ผู้ปฎิบัติ 2 คน และผู้เชี่ยวชาญ 1 คน เครื่องมือการวิจัย มี 2 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาสภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วย พัฒนาขึ้นจากแนวคิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังของวากเนอร์และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือชุดแรกผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าสถิติร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการณ์และความคาดหวังของการจัดการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง พบประเด็นปัญหา 4 ประการ ได้แก่ (1) นโยบายและโครงสร้างการให้บริการไม่ชัดเจน (2) การออกแบบและขั้นตอนการให้บริการตามบทบาหน้าที่ของทีมสุขภาพยังขาดประสิทธิภาพ (3) ผู้ป่วยขาดการมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาลเพื่อการดูแลตนเอง และ (4) ขาดการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน และ 2) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) มุ่งเน้นที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นศูนย์กลาง (2) มีนโยบายที่ชัดเจนและความร่วมมือของทีมสุขภาพ และ (3) มีความร่วมมือกับชุมชนและประสานความร่วมมือกับหน่วยบริการพื้นฐาน และ 3) รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมกับบริบทของสถาบันบำราศนราดูร ในระดับมากที่สุด (M=4.8) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/789 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext 155196.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License