Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภัชมาน วรินทรเวช, 2533--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-17T08:17:27Z-
dc.date.available2023-07-17T08:17:27Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7890-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศีกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จํานวน 308 คน ได้มาโดยการกำาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเคร็จ และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาและสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ถึงโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสนับสนุนความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านความร่วมมือร่วมใจ ด้านการทำงานเป็นทีมเรียนรู้ และด้านภาวะผู้นำร่วม และ 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา พบว่า (2.1) ผู้บริหารต้องร่วมกับครู ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดทิศทางการสร้างภาพอนาคตด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2.2) ควรส่งเสริมให้ครูในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2.3) ควรสนับสนุนการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้เอื้อต่อการดำเนินการในสถานศึกษา โดยสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม (24) ควรให้สมาชิกทุกคนเกิดความตระหนักว่าการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการ นำสู่การปฏิบัติ และประเมินร่วมกัน (2.5) ควรส่งเสริมให้ครูได้มีการวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และ (2.6) ผู้บริหารควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในทุกขั้นตอน และต้องสร้างแรงจูงใจให้ครูและบุคลากรในทีมเกิดพลังในการทำงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--นครศรีธรรมราชth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1th_TH
dc.title.alternativeGuidelines for development of being professional learning community of Schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the level of being professional learning community of schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1; and (2) to study guidelines for development of being professional learning community of schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1. The research sample consisted of 308 teachers in schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1 obtained by stratified random sampling based on school size and then simple random sampling. The sample size was determined based on the Krejcie and Morgan’s Sample Size Table. The key research informants were five experts. The research instruments were a rating scale questionnaire on being professional learning community of school, with reliability coefficient of .98, and a semi-structure interview form on guidelines for development of being professional learning community of school. Research data were analyzed using the frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. Research findings revealed that 1) the overall being professional learning community of the schools was rated at the high level; when its specific aspects were considered, the specific aspects could be ranked from top to bottom based on their rating means as follows: the supports of being professional learning community aspect, the having joint-vision aspect, the learning exchange aspect, the cooperation and idea sharing aspect, the working as learning team aspect, and the co-leadership aspect, respectively; and 2) regarding guidelines for development of being professional learning community of the schools, it was found that (2.1) the school administrators must cooperate with the teachers, parents, and stakeholders in determination together the direction for creating the future scenario by determination of the vision for mobilization of professional learning community; (2.2) the school administrators should encourage the teachers in each school to participate in mobilization of being professional learning community; (2.3) the school administrators should support the development of being professional learning community by providing sufficient and adequate supporting factors to facilitate the operation in the schools; (2.4) the school administrators should enable every member to realize that in the development of being professional learning community, the members must be open-minded, listen, and propose the operation methods that lead to practice, and collaborate in evaluation; (2.5) the school administrators should encourage the teachers to plan together concerning the adjustment of the instructional process model to enable the students to achieve quality learning; and (2.6) the school administrators should promote and give opportunity for the teachers to participate in every step of the development of being professional learning community, and they should create the motivation to enable the teachers and personnel in the team to have the will power in work performanceen_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons