Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7890
Title: แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
Other Titles: Guidelines for development of being professional learning community of Schools under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1
Authors: ฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์
ภัชมาน วรินทรเวช, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--นครศรีธรรมราช
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศีกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จํานวน 308 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเคร็จและมอร์แกนจากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ถึงโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสนับสนุนความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านความร่วมมือร่วมใจ ด้านการทำงานเป็นทีมเรียนรู้ และด้านภาวะผู้นำร่วม และ 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา พบว่า (2.1) ผู้บริหารต้องร่วมกับครู ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดทิศทางการสร้างภาพอนาคตด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2.2) ควรส่งเสริมให้ครูในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2.3) ควรสนับสนุนการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้เอื้อต่อการดำเนินการในสถานศึกษา โดยสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม (24) ควรให้สมาชิกทุกคนเกิดความตระหนักว่าการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการ นำสู่การปฏิบัติ และประเมินร่วมกัน (2.5) ควรส่งเสริมให้ครูได้มีการวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และ (2.6) ผู้บริหารควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในทุกขั้นตอน และต้องสร้างแรงจูงใจให้ครูและบุคลากรในทีมเกิดพลังในการทำงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7890
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons