กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7893
ชื่อเรื่อง: การจัดการซัพพลายเชนในธุรกิจอุตสาหกรรมนม : กรณีศึกษาองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Supply chain management of milk industry : case study Dairy farming Promotion Organization of Thailand (D.P.O)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ
ภูมิทิพย์ กูบโคกกรวด, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ยงยุทธ ฟูพงศ์ศิริพันธ์
ศิริชัย พงษ์วิชัย
คำสำคัญ: องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมนม--ไทย
ซัพพลายเซน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการซัพพลายเชนชอง อ.ส.ค. เฉพาะผลิตภัณฑ์นม ยู.เอช.ที. 2) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นของซัพพลายเออร์ที่มีต่อฝ่ายผลิตเกี่ยวกับการส่งมอบและคุณภาพบริการ 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็นของฝ่ายผลิตที่มีต่อชัพพลายเออร์ เกี่ยวกับการส่งมอบและคุณภาพบริการ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้จำหน่ายที่มีต่อฝ่ายผลิตเกี่ยวกับการส่งมอบ และคุณภาพบริการการวิจัยเซิงสำรวจนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นซัพพลายเออร์หรือผู้คัดส่งน้ำนมดิบของ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จำนวน 40 ราย. พนักงานของ อ.ส.ค. ระดับปฎิบัติการจำนวน 110 ราย และผู้จำหน่ายผลตภัณฑ์นมของ อ.ส.ค. จำนวน 43 ราย ตามรายชี่อเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม แบบสอบถามแยกตามกลุ่มกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง ชื่งแบบมาตรประมาณค่าเป็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งมอบและคุณภาพบริการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.69, 0.86 และ 0.85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และสัมภาษณ์เซิงลึกผู้บริหาร อ.ส.ค. เกี่ยวกับนโยบายและผลของกระบวนการจัดการชัพพลายเชนของ อ.ส.ค. ผลการวิจัยพบว่า (1) อ.ส.ค. ทำสัญญาขึ้อขายและรับน้ำนมดิบจากสหกรณ์โคนมเข้าสู่การผลิตผลิตภัณฑ์นม ยู.เอช.ที. และอื่นๆ และเก็บในคลังสินค้า โดยมีอัตราหมุนเวียนสินค้า ปี 2546 เป็นเวลา 54.97 วัน/รอบ อ.ส.ค. เก็บรักษาในคลังสินค้าและเช่าพื้นที่ภายนอก สามารถส่งมอบผลิตกัณฑ์นม ยู.เอช.ที. ได้เฉลี่ย 44 ชั่วโมง อย่างทันเวลาและครบจำนวนโดยมีระดับการบริการร้อยละ 85-95 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยร้อยละ 1.88 - 5.24 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ (2) ชัพพลายเออร์มีความเชื่อมั่นต่อ อ.ส.ค. ในขั้นตอนการตรวจคุณภาพน้ำนมดิบการชำระเงินค่าน้ำนมดิบ ส่วนการบริการยังมีความล่าช้าในขั้นตอนตรวจคุณภาพน้ำนมดิบ (3) พนักงานของฝ่ายผลิตหรือ อ.ส.ค. มีความเห็นว่าชัพพลายเออร์ที่สามารถส่งมอบวัตถุดิบและบริการที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือในคุณภาพวัตถุดิบ และควรมีการวางแผนการจัดส่งวัตถุดิบร่วมกัน (4) ผู้จำหน่ายสามารถกระจายสินค้าได้ภายใน 1-4 วัน ซื้อขายเป็นเงินสด มีต้นทุนขนส่งเฉลี่ยร้อยละ 0.32-7 การตั้งราคาขายส่วนใหญ่บวกจากต้นทุนขนส่ง โดยมีความเห็นด้านคุณภาพและการบริการว่า อ.ส.ค. ควรปรับปรุงระบบงาน และพนักงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7893
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82167.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons