Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7894
Title: บทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลาม : กรณีศึกษา อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
Other Titles: The roles and political participation of Islamic leaders: a case study of Muang Krabi District, Krabi Province
Authors: ขจรศักดิ์ สิทธิ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันทนีย์ คงทอง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้นำศาสนาอิสลาม--ไทย--กระบี่--กิจกรรมทางการเมือง.
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลาม ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (2) ศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำทางศาสนาอิสลาม ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้นำศาสนาอิสลาม ประกอบด้วย อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น คณะกรรมการอิสลามและครูผู้สอนศาสนาจากมัสยิดต่าง ๆ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานนอกจากนี้ ยังมีกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำศาสนาอิสลาม และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า บทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านกิจกรรมพรรคการเมืองของผู้นําศาสนาอิสลาม และด้านการติดตามประเด็นสาธารณะอยู่ในระดับสูงทุกด้าน การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลามผ่านสื่อต่าง ๆ มีการใช้สื่อทางสังคมรูปแบบใหม่ การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และมีการพบปะพูดคุยในรูปแบบเผชิญหน้า ในลักษณะกลุ่ม 5-6 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าบทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลามมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมืองเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและร่วมทํากิจกรรมต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวไม่ถือว่าขัดต่อหลักการทางศาสนา เพราะศาสนาอิสลามไม่ได้แบ่งแยกระหว่างการเมืองกับศาสนาออกจากกันอย่างเด็ดขาด สําหรับกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลามในรูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ การกล่อมเกลาผ่านทาง (1) ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด มีการสอนเด็กและเยาวชนมุสลิมตั้งแต่อายุ 6-15 ปี สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง (2) การประชุมประจำเดือนของชมรมผู้นำศาสนาอิสลาม อำเภอเมืองกระบี่ ทุกวันที่ 10 ของเดือน (3) กิจกรรมงานเมาว์ลิดกลางจังหวัดกระบี่ มีการจัดต่อเนื่องทุกปี โดยเป็นกิจกรรมที่เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2523 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 40 ปี (4) การเผยแพร่ความคิดผ่านสถานีวิทยุของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดกระบี่ โดยมีการออกอากาศทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการสร้างการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านกลไกการสื่อสารในรูปแบบที่สำคัญและปรากฏเด่นชัด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7894
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons